การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาสำหรับนักศึกษาครู

ผู้แต่ง

  • พัสสกรณ์ วิวรรธมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบ Active Learning, แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาสำหรับนักศึกษาครู   2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบประเมินโครงการ แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย       ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละของค่าประสิทธิภาพ ค่าสถิติ (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีรายละเอียดดังนี้ ขั้นที่ 1 การเตรียมปัญหาประเด็นแหล่งเรียนรู้ (Preparing)  ขั้นที่ 2 วางแผนสู่แหล่งเรียนรู้ด้วยกิจกรรม (Planning) ขั้นที่ 3 ลงมือทำค้นคว้าสร้างความเข้าใจ (Proceeding) ขั้นที่ 4 ทบทวนไตร่ตรองแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (Pondering) ขั้นที่ 5 นำเสนอแบ่งปันรายงานผลการศึกษา (Presenting) มีประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2) เท่ากับ 80.04/80.11 เมื่อเทียบกับเกณฑ์  80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินการพัฒนาโครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้อยู่ในระดับดี 3) ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จิตาพัชญ์ ไชยสิทธิ์. (2558). Active Learning: การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ. นครสวรรค์: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). Active Learning. เชียงใหม่: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา. (2553). การพัฒนาพฤติกรรมการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในการเรียนวิชาหลักการตลาดโดยการสอนแบบมีส่วนร่วม (Active Learning) (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ธนา นิลชัยโกวิทย์ และอดิศร จันทรสุข. (2552). ศิลปะการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง:คู่มือกระบวนการจิตตปัญญา. นครปฐม: ศูนย์จิตปัญญาศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล.

พรทิพย์ วงศ์ไพบูลย์. (2560). การเรียนรู้เชิงรุกและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active Learning). วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 8(2), 327-336.

รสิตา รักสกุลและคณะ. (2558). สัมฤทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยใช้Active Learning ของนักศึกษาในรายวิชาการบริหารจัดการยุคใหม่และภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (รายงานผลการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

วรวรรณ เพชรอุไร. (2555). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้แบบแอคทีฟในรายวิชา อย 341 การแปรรูปยาง (รายงานผลการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

วไลลักษณ์ พัสดร. (2553). การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป โดยบูรณาการ แหล่งเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงเคียงคู่เพชรบุรี สำหรับนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านลาดวิทยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศศิพัชร จำปา. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางประวัติศาสตร์. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 1158-1171.

ศิริกาญจน์ โกสุมภ์ และดารณี คำวัจนัง. (2545). ชุดพัฒนาสู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน: สอนเด็กให้คิดเป็น. กรุงเทพฯ: เสริมสิน พรีเพรส ซิสเท็ม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แหล่งเรียนรู้โรงเรียนดีใกล้บ้าน. กรุงเทพฯ: เสนาธรรม.

อุดม เชยกีวงศ์. (2545). หลักสูตรท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ การปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: กรุงธนพัฒนา.

Bonwell, C.C., & Eison, J.A. (1991). Active Learning Creating Excitement in The Classroom. ASHEERIC Education Report. Washington DC: The George Washington University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25

How to Cite

วิวรรธมงคล พ. (2021). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาสำหรับนักศึกษาครู. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 198–210. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/250587