รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในสังคมพหุวัฒนธรรม ในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระครูบวรกิจคุณธาร (อนันต์ วรปญฺโญ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ธิลาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบเผยแผ่พระพุทธศาสนา, สังคมพหุวัฒนธรรม, พระสงฆ์

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในสังคมพหุวัฒนธรรมเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน และการวิจัยเชิงเชิงปริมาณ ด้วยการแจกแบบสอบถามจำนวน 242 รูปหรือคน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. พระสงฆ์มีวิสัยทัศน์ในการนำหลักธรรมและวิธีการมาใช้พัฒนาการเผยแผ่ แต่การเผยแผ่ผ่านสื่อออนไลน์มีไม่มากและช่องทางไม่หลากหลาย 2. องค์ประกอบการเผยแผ่ ประกอบด้วย 2.1 ทฤษฎีการสื่อสาร SMCR คือ ผู้ส่งสาร สาร ช่องทาง ผู้รับ 2.2 หลักพุทธวิธี 4 ส. คือ สันทัสสนาแจ่มแจ้ง สมาทปนาจูงใจ สมุตเตชนาแกล้วกล้า และสัมปหังสนาร่าเริง  2.3 ข้อควรระวังการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมพหุวัฒนธรรมต้องตระหนักถึงความแตกต่างทางความเชื่อ การเผยแผ่ควรเลือกหลักธรรมที่เป็นกลาง และคณะสงฆ์ควรส่งเสริมโดยใช้ทฤษฎีการบริการงานคุณภาพ PDCA ให้มากขึ้น 3. รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาใช้วิธีการเทศน์ ปาฐกถา สวดมนต์และกิจกรรมในโอกาสต่าง ๆ เช่น งานบุญ งานบวช การสอนศีลธรรมในโรงเรียน และรักษาศีล 5  

References

กรมการศาสนา. (2540). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการพระศาสนา.กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

จำเนียนน้อย สิงหะรักษ์. (2555). ศึกษาหลักสามัคคีธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท. (รายงานผลการวิจัย). กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ทัศนีย์ เจนวิถีสุข. (2554). การสื่อสารเชิงพุทธกับการเปลี่ยนแปลงสังคม (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรรณธิภา เอี่ยมศิริปรีดา และคณะ. (2553). ศาสนากับการสร้างสันติสุข: บทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมสันติสุขในชุมชนเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระครูนิวิฐศีลขันธ์ (ณรงค์ ตวฑฺฒโน). (2557). รูปแบบการพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมในองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ) พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).(2555). ความสำคัญของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.

พระมหานภดล ปุญฺญสุวฑฺฒโก. (2560). การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร. (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหารุ่งเพชร ชวนปญฺโญ. (2548). รูปแบบวิธีการเผยแผ่พุทธธรรมของพระธรรมกิตติวงค์ (ทองดี สุรเตโช). (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร. (2542). การสื่อสาร หน่วยที่ 2 กระบวนการและบริบทในการสื่อสาร สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มสธ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

อนวัช ยาวิชัย และสุนัดตา สัตตวัตรกุล. (2556). การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อมุ่งสู่ประชาคมอาเซียน (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-20

How to Cite

(อนันต์ วรปญฺโญ) พ. ., (กำพล คุณงฺกโร) พ., & ธิลาว ป. (2021). รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในสังคมพหุวัฒนธรรม ในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(1), 116–124. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/249968