พุทธธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธธรรมาภิบาล, ประสิทธิภาพ, การปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร
2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร 3. นำเสนอรูปแบบพุทธ
ธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดสระแก้ว รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 450 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยภาพรวมและรายด้านประกอบด้วย การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การยึดมั่นในความถูกต้อง ความเข้าใจในระบบองค์กรและระบบงาน การบริการที่เป็นเลิศและการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและปัจจัยการปฏิบัติงานตามหลัก 7S ผ่านหลักพละ 4 ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรร้อยละ 104 และ 3. รูปแบบพุทธธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานมีปัจจัยพื้นฐาน 2 อย่าง คือ ปัจจัยการปฏิบัติงานตามหลัก 7S และการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร โดยบูรณาการหลักพุทธธรรมาภิบาลคือหลักพละ 4 ได้แก่ 1) ปัญญาพละ (กำลังความรู้) 2) วิริยพละ (นำสู่การปฏิบัติ) 3) อนวัชชพละ (ซื่อสัตย์สุจริต) และ 4) สังคหพละ (มีจิตอาสา)

References

เทศบาลจังหวัดสระแก้ว. โครงสร้างองค์กรปกครองท้องถิ่นในจังหวัดสระแก้ว. สืบค้น 18 มกราคม 2564, จาก http://cld.drr.go.th/_cld_attach/KNOWLEDGE/

/doc/736

จิดาภา เร่งมีศรีสุข. (2562). ยุทธศาสตร์เพื่อการเสริมสร้าง การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในทศวรรษหน้า. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 12 (2), 234-241.

ณรัฐ สวาสดิ์รัตน์. (2558). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครทหารพรานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามหลักพุทธธรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ตุลา มหาสุธานนท์. (2545). หลักการจัดการ หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

ปฐม มณีโรจน์. (2554). สาธารณคดี ภาครัฐในมุมมองนักกฎหมายการเมืองและการบริหาร, กรุงเทพฯ: สุภาภรณ์การพิมพ์.

ผดุง วรรณทอง และคณะ. (2561). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารองค์กรเอกชนในจังหวัดนนทบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7 (2), 99-100.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส. อาร์. ปริ้นติ้งแมส โปรดักส์ จำกัด.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วาสิตา เกิดผล ประสพศักดิ์. (2557). แบบจำลองการบริหารเชิงพุทธบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2563). การปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 18 มกราคม 2563,

จาก https://th.wikipedia.org

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2562). โครงการศึกษาวิเคราะห์และประเมินผลการถ่ายโอนภารกิจงานวาง/ปรับปรุงผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน. สืบค้น 15 มกราคม 2563, จาก http://eservices.dpt.go.th/eservice_1/subsites/other/subcsp/index.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-23

How to Cite

สนฺตมโน พ., สุขเหลือง เ. ., & ดอกไธสง บ. . (2021). พุทธธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดสระแก้ว. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 146–159. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/249943