รูปแบบการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
รูปแบบ, ; การจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม, การบูรณาการหลักพุทธธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม
2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม และ 3. นำเสนอรูปแบบการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 309 คนใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและเชิงอนุมานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 17 รูปหรือคน และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า1) การจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยด้านการพัฒนาการบริหาร ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน และการปฏิบัติตามหลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) รูปแบบการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ มีการบูรณาการหลักพุทธธรรม คือ มีใจรักในการส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยและการแปรรูปเป็นพลังงาน พรากเพียรเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในพื้นที่วิกฤติและพื้นที่เสี่ยง ติดตามตรวจสอบ บูรณะและฟื้นฟูแม่น้ำสายหลัก และปรับปรุงแก้ไขระบบป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและการเฝ้าระวัง
References
จังหวัดสมุทรปราการ. (2563). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.samutprakan.go.th/m_n3_4.php.
ชาติชาย คงเพ็ชรดิษฐ์. (2559). การบริหารการเปลี่ยนแปลง : บทบาทของภาวะผู้นาและการสื่อสารในองค์การ. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(1), 895.
ณัฏฐธิดา ชัยสงคราม และยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 35(2), 81-98.
ณัฐวรรธน์ สุนทรวริทธิโชต. (2556). การศึกษาสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตตำบลสามบัณฑิต : กรณีศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชน (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
นพรัตน์ วิเศษโวหาร. (2563). ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของคณะกรรมการชุมชนสังกัดเทศบาลตำบล ในเขตอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ไพฑูรย์ สิงห์ไข่มุก และคณะ. (2558). ประสิทธิผลนโยบายมลพิษอุตสาหกรรมของไทย (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560–2564. กรุงเทพฯ: มปท.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ. (2563). ข้อมูลพื้นฐานของ อปท.สืบค้น 20 สิงหาคม 2563, จาก http://samutprakanlocal.go.th/public/history/data/index/menu/22
สำนักงานสถิติจังหวัดสมุทรปราการ. (มปท.). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ. เอกสารเผยแพร่. สำนักงานสถิติจังหวัดสมุทรปราการ.
อรวิภา จรูญจารุวัฒนา.(2559). การบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 กับการเรียนการสอนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(2), 183-184.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น