รูปแบบการบริหารจัดการการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน ของวัดในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหารจัดการ, การอนุรักษ์, คัมภีร์ใบลานบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพทั่วไป กระบวนการ และนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 รูปหรือคน สนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงวุฒิ 10 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. คัมภีร์ใบลานของวัดยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ แต่วัดยังขาดบุคลากรและงบประมาณในการดำเนินการที่เพียงพอ 2. กระบวนการในการบริหารจัดการ ได้แก่ กระบวนการขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การสำรวจ คัดแยก ทำความสะอาด เป็นต้น และกระบวนการที่มีรูปแบบเฉพาะตัว ได้แก่การนำเทคนิคต่างๆ เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ 3. รูปแบบการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 3.1 การกำหนดนโยบายและแผนการอนุรักษ์ที่ชัดเจน 3.2 การนำระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเผยแพร่องค์ความรู้ 3.3 การใช้เทคโนโลยีร่วมสมัยเพื่อการบริหารจัดการในองค์ประกอบต่างๆ 3.4 การจัดทำทะเบียนคัมภีร์ใบลานตามระบบสากล 3.5 การสำรวจ ซ่อมแซมคัมภีร์ใบลานที่ชำรุดเสียหายให้คงสภาพที่ดี 3.6 การจัดทำสำเนาคัมภีร์ใบลานด้วยระบบดิจิทัลเพื่อการสืบค้น 3.7 การควบคุมอุณหภูมิของห้องให้เหมาะสม 3.8 การปริวรรต คัดลอก ถ่ายถอด และแปลคัมภีร์ใบลาน ให้เป็นภาษาต่างๆ 3.9 การจัดระบบการให้บริการข้อมูลทั้งในสถานที่และทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
References
ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร. (2551). พระพุทธศาสนาในศรีลังกา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เชน ปริ้นติ้ง.
ประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทย. อินฟอร์เมชั่น, 25(1), 51- 59.
พระชยานันทมุนี. (2560). การสืบค้นการจัดระบบอนุรักษ์เอกสารคัมภีร์โบราณของวัดและถ่ายทอดภูมิปัญญาล้านนาเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นของจังหวัดน่าน. วารสารธาตุพนมปริทรรศน์, 1(2), 189 - 897.
พระชยานันทมุนี และคณะ. (2562). การสืบค้นและการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานล้านนาของวัดเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นภาคเหนือ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 133.
พระมหาประกาศิต สิริเมโธ. (2562). รูปแบบการอนุรักษ์เอกสารคัมภีร์โบราณเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมแก่เยาวชนในจังหวัดนครปฐม และจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 1(2), 119-120.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ. (2560). การพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจับยึดและพลิกคัมภีร์ใบลานอัตโนมัติสำหรับการถ่ายภาพดิจิทัลเพื่ออนุรักษ์คัมภีร์ธรรมทางพระพุทธศาสนา (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2536). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). อรรถกถาฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑิ และวัชชรา บูรณสิงห์. (2553). ระบบบริหารจัดการทะเบียนใบลาน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
วีณา วีสเพ็ญ และคณะ.(2554). อนุรักษ์ ฟื้นฟู บูรณาการ โครงการอนุรักษ์ใบลาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์.
สุรธัชนุกูล นุ่นภูบาล และคณะ. (2561). วรรณกรรมท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม : ปริวรรตใบลาน วัดศรีชมชื่น บ้านคกเลาใต้ ตำบลบุฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย” (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.
สำนักหอสมุดแห่งชาติ. (2556). ความรู้ด้านการซ่อมอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดแห่งชาติ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น