การพัฒนาโครงสร้างสวัสดิการผู้สูงอายุในสังคมไทย: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
การพัฒนา, โครงสร้างประชากร, สวัสดิการผู้สูงอายุบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของหน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น เพื่อศึกษาโครงสร้างการทำงานด้านสวัสดิการผู้สูงอายุของหน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น และเสนอรูปแบบโครงสร้างสวัสดิการที่เหมาะสมต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประเภทวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research) ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 คน และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหานำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า การจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน มี 2 รูปแบบ คือ (1) การจัดสวัสดิการตามพันธกิจที่รัฐกำหนด เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2) การจัดสวัสดิการแบบผสมผสานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน และชุมชน โดยการเปิดโอกาสให้องค์กรเอกชนและประชาชน มีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็น นำไปสู่การออกแบบโครงการ/กิจกรรมที่ตอบสนองผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่มคือ กลุ่มติดเตียง กลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดสังคม ที่สำคัญต้องเป็นความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชนอย่างแท้จริง ภายใต้มาตรการ 4 ส. คือ 1) การส่งเสริมสุขภาพกาย 2) การส่งเสริมสุขภาพจิต 3) การส่งเสริมสุขภาพทางปัญญา และ 4) การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
References
กลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.
กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ, กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2558). แนวทางการดำเนินงานโครงการกองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุประจำปี 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพลและคณะ. (2555). รูปแบบการจัดการดูแลระยะยาวกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงโดยชุมชน. วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัย และการพัฒนา, 8(11), 28-30.
ธาริน สุขอนันต์และคณะ. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธรณสุขศาสตร์, 41(3), 240-249.
ปภัสสร กิมสุวรรณวงศ์. (2557). การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนา. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาเขตขอนแก่น, 8(3), 74-75.
วรพงษ์ บุญเคลือบ. (2549). การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร และคณะ. (2536). ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกภายใต้สวัสดิการ รักษาพยาบาลของข้าราชการ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
ศิริพร เป็งสลี. (2554). การกำหนดทางเลือกกลยุทธ์ในการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเทศบาลเขลางค์นคร (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ (สทส.). (2546). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 (ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2553). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพดพ็ญวานิสย์.
สุปรียา พูลทาจักร. (2556). การจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุและคนพิการของเทศบาลตำบลในพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น