การพัฒนานวัตกรรมการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ ด้วยสมุนไพรใกล้มือสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • นคร จันต๊ะวงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • รุสนี มามะ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • โชคชัย แซ่ว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ชัยนรินทร์ เรือนเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

สมุนไพรใกล้มือ, นวัตกรรมการพึ่งพาตนเอง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การพัฒนานวัตกรรมการส่งเสริมการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพด้วยสมุนไพรใกล้มือสำหรับผู้สูงอายุมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการส่งเสริมการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพด้วยสมุนไพรใกล้มือของผู้สูงอายุตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 398 คน โดยใช้แบบสอบถามและทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละและค่าเฉลี่ย และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 คนและทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุนอกเหนือจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่ต้องทำการรักษาแบบประคับประคองกับการแพทย์แผนปัจจุบัน ยังพบปัญหาทางสุขภาพจากความเสื่อมโทรมตามวัย เช่น อาการนอนไม่หลับ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด อาการท้องผูก อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อาการไข้หวัด ความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง อย่างไรก็ตาม ปัญหาทางสุขภาพดังกล่าวผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้ในเบื้องต้นด้วยสมุนไพรใกล้มือ นำไปสู่แนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพด้วยสมุนไพรใกล้มือสำหรับผู้สูงอายุ การพัฒนานวัตกรรมที่ได้จึงเกิดองค์ความรู้ที่ครอบคลุมถึงวิธีการเพาะปลูก การดูแลรักษาและป้องกันศัตรูพืช และการเก็บเกี่ยวมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามกรรมวิธีทางการแพทย์แผนไทยและมีโอกาสช่วยแก้ไขปัญหาทางสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมให้กับผู้สูงอายุได้อย่างยั่งยืน

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองประกอบโรคศิลปะ. (2542). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม. นนทบุรี: บริษัท ไทภูมิพับลิชชิ่ง จำกัด.

กระทรวงสาธารณสุข. (2540). ยาสมุนไพร ในงานสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

จิราพร เกศพิชญวัฒนาและคณะ. (2561). เรียนรู้เข้าใจวัยสูงอายุ. กรุงเทพฯ: บริษัท ยืนยงการพิมพ์ จำกัด.

มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2563). มิเตอร์ประเทศไทย. สืบค้น 22 ธันวาคม 2563, จาก http://www.ipsr.mahidol.ac.th

ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร และคณะ. (2560). แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในหมู่บ้านโพธิ์พัฒนา ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน. เชียงราย: การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 6 “วิทยาการจัดการวิชาการ 2017 การวิจัยยุคประเทศไทย 4.0” มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. (2563). พระบรมราโชบาย. สืบค้น 22 ธันวาคม 2563, จาก https://www.crru.ac.th/2021/

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). (2562). รายงานทีดีอาร์ไอ ฉบับที่ 152 พฤษภาคม 2562. สืบค้น 20 ธันวาคม 2563, จาก https://tdri.or.th/

สมหมาย ทองบอน. (2558). ภูมิปัญญาและค่านิยมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา). สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

สุภาดา คำสุชาติ. (2560). ปัญหาและความต้องการดูแลทางสุขภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทย: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(6), 1156-1164.

United Nations. (2558). World population Ageing 2493-2593. Retrieved December 20, 2020, from http://www.un.org/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-20

How to Cite

จันต๊ะวงษ์ น., มามะ ร. ., แซ่ว่าง โ. ., ตันสุวรรณวงศ์ ศ. ., & เรือนเจริญ ช. (2021). การพัฒนานวัตกรรมการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ ด้วยสมุนไพรใกล้มือสำหรับผู้สูงอายุ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(1), 245–256. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/249381