ปัญหาการตรวจสารเสพติดในร่างกายของผู้ขับขี่ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

ผู้แต่ง

  • ปิติพัฒน์ อยู่เย็นนันทกุล มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • สุระทิน ชัยทองคำ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • คมสัน สุขมาก มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ประเภทของสารเสพติด, ประเภทยานพาหนะ, ผู้ตรวจสารเสพติด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการกำหนดประเภทของสารเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่ยานพาหนะเสพยาเสพติดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ (2) เพื่อศึกษาเจ้าพนักงานที่มีอำนาจในการตรวจสอบบุคคลกรณีมีสารเสพติดอยู่ในร่างกายขณะขับขี่ยานพาหนะตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ (3) เพื่อศึกษาการกำหนดประเภทของยานพาหนะที่เจ้าหน้าที่มีอำนาจในการตรวจหาสารเสพติด ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ จากการศึกษาโดย รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาวิจัยเอกสาร และสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กับผู้ทรงคุณวุฒิ 3 รายที่ได้ผ่านการปฏิบัติงาน งานวิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ กำหนดมาตรการทางกฎหมายในการตรวจสารเสพติดในร่างกายของผู้ขับขี่ยานพาหนะตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ให้มีความเหมาะสมและครอบคลุมในการให้อำนาจเจ้าพนักงานในการตรวจสารเสพติดในร่างกายของผู้ขับขี่ ควรมีการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายคือ แก้ไขเพิ่มเติม ประเภทของสารเสพติดในความผิดฐานขับขี่ยานพาหนะเสพยาเสพติด เพิ่มอำนาจให้เจ้าพนักงานในการตรวจผู้ขับขี่ยานพาหนะ และแก้ไขเพิ่มเติมประเภทรถที่เจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจสารเสพติดผู้ขับขี่

References

กฤษดา จันทร์ศรี. (2537). การจราจรในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่: ปัญหาและแนวทางแก้ไข (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา. (2563). คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2558. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2563, จาก https://deka.in.th/view-580003.html

ข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง กำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและประเภทของรถที่ใช้เจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจสอบผู้ขับขี่. (2537, 13 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 111 ตอนพิเศษ 30 ง. หน้า 31.

ข่าวหุ้น. (2563). ปิดฉาก “7 วันอันตราย” เสียชีวิต 373 ราย เจ็บ 3,499 คน เมาแล้วขับครองแชมป์อุบัติเหตุ! (ออนไลน์). สืบค้น 20 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.kaohoon.com/content/334083

ไทยรัฐออนไลน์. (2562). ศาลสรุปสถิติคดี 7 วันสงกรานต์ เมาแล้วขับนำโด่ง-ไม่มีใบขับขี่ตามติด (ออนไลน์). สืบค้น 20 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1547320

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522. (2522, 18 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 96 ตอนที่ 8 ฉบับพิเศษ. หน้า 13.

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522. (2522, 22 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 96ตอนที่ 63 ฉบับพิเศษ. หน้า 29.

อภิสรา กูลวงศ์ธนโรจน์. (2563). การศึกษาอุบัติการณ์ของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกที่มีการใช้ แอลกอฮอล์ ยาเสพติด และยาหรือสารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในจังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ.2558-2561. วารสารแพทย์เขต 4-5, 39(2), 214-226.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-20

How to Cite

อยู่เย็นนันทกุล ป., ชัยทองคำ ส., & สุขมาก ค. . (2021). ปัญหาการตรวจสารเสพติดในร่างกายของผู้ขับขี่ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(1), 210–221. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/249314