ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการสร้างเครือข่ายการจัดการศึกษา ของโรงเรียนผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
ปัจจัยความสำเร็จ, การสร้างเครือข่าย, โรงเรียนผู้สูงอายุบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการสร้างเครือข่ายการจัดการศึกษาของโรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรหน่วยงานเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ จำนวน 228 คน โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามเกี่ยวกับตัวแปร ได้แก่ นโยบายและยุทธศาสตร์ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน กระบวนการจัดการ ภาวะผู้นำ การเมืองการปกครองท้องถิ่น และความสำเร็จของการสร้างเครือข่าย การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์สัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ด้านภาวะผู้นำ (= 4.06, S.D.=.586) และด้านกระบวนการจัดการ (
=3.82, S.D.=.548) ส่งผลต่อความสำเร็จของการสร้างเครือข่ายการจัดการศึกษาของโรงเรียนผู้สูงอายุมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน (
= 3.90, S.D.= .519 ) ด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ (
= 4.04, S.D.= .585) และด้านการเมืองการปกครองท้องถิ่น (
= 3.70, S.D.= .648) ซึ่งมีค่า Beta .274 , .230, .178, .156 และ .144 ตามลำดับ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ชี้ว่า การจัดการศึกษาของโรงเรียนผู้สูงอายุให้ประสบความสำเร็จให้เน้นภาวะผู้นำโรงเรียนผู้สูงอายุพึงมุ่งมั่นกับงานสูง ชอบริเริ่มงานใหม่ๆคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุ ผู้นำพึงมีบุคลิกภาพเปิดกว้างและเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆและสามารถทำงานเข้ากับผู้อื่นได้ดี ด้านกระบวนการจัดการเน้นการวางแผนและการนำมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายสูง ส่วนการติดตามประเมินผลหรือควบคุมและการจัดองค์การให้เน้นรองลงมา
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). ทำเนียบโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). รายงานประจำปี กรมกิจการผู้สูงอายุ 2560. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ.
กฤษณ์ รักชาติเจริญและคณะ. (2559). ปัจจัยชี้วัดความสำเร็จในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติสู่การปฏิบัติ. BU Academic Review, 15(2), 1-16.
กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจและวรากร เกรียงไกรศักดา. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), 81-97.
ทวีคูณ สวรรค์ตรานนท์และคณะ. (2552). การสร้างเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อสนับสนุนการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแบบมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่ 10. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2(1), 49-61.
นฤมล นิราทร. (2543). การสร้างเครือข่ายการทำงาน: ข้อควรพิจารณาบางประการ. กรุงเทพฯ: สาขาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เนาวเรศ น้อยพานิช. (2552). รูปแบบการจัดองค์กรเครือข่ายการจัดการศึกษานอกระบบในชุมชน (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยอีสเทอร์นเอเซีย.
สาคร อินโท่โล่. (2552). การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุชุมชนจังหวัดมหาสารคาม (รายงานผลการวิจัย). มหาสารคาม: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดมหาสารคาม.
สุรวุธ ชยานันท์โชตินันท์. (2559). รูปแบบการบริหารเครือข่ายการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2549). คู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี : การบริหารราชการแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานฉบับสมบูรณ์: การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: บริษัท เท๊กซ์ แอนด์ เจเนอรัลด์ พับลิเคชั่น จำกัด.
เสาวลักษณ์ มณีทิพย์. (2560). แนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
บุญเพิ่ม สอนภักดีและคณะ. (2559). รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 99-113.
พวงนรินทร์ คำปุก. (2557). ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย (การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
อัจฉรา พุฒิมา. (2555). การจัดการเครือข่ายผู้สูงอายุและผู้พิการ กรณีศึกษาเทศบาลเมือง3เมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น