การศึกษาการฝึกอบรมทุนมนุษย์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในตนเอง

ผู้แต่ง

  • ชัชวาล มะโนวัฒนา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • บุษกร วัฒนบุตร มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • นันทนา ชวศิริกุลฑล มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • กุลประวีณ์ ศิริภูริพลังกร มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การฝึกอบรมและพัฒนา, ความตระหนักรู้ในตนเอง, ทุนมนุษย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน องค์ประกอบของการฝึกอบรมทุนมนุษย์ และพัฒนาการฝึกอบรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในตนเองสำหรับทุนมนุษย์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 15 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสังเคราะห์ วิเคราะห์ลักษณะร่วมและข้อสรุปร่วม ผลการศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบันการพัฒนาการพัฒนาทุนมนุษย์ถือเป็นรากฐานสำคัญของการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ โดยต้องวิเคราะห์พิจารณาบริบทภายในขององค์กรเป็นจุดเริ่มต้น อาทิ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมร่วมขององค์กร ภารกิจหน้าที่ รวมถึงศักยภาพของทุนมนุษย์ ขณะที่สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร ควรวิเคราะห์พิจารณาถึงสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เป็นต้น  ขณะที่องค์ประกอบของการฝึกอบรมทุนมนุษย์เพื่อสร้างการตระหนักรู้ในตนเองที่สำคัญนั้นประกอบด้วย 1.  การเรียนรู้ของสมาชิกในองค์กร 2. ความมีสติ 3. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนในองค์การ 4. การเรียนรู้เป็นทีม 5. ระบบการคิดของคนในองค์การ นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่ากระบวนการพัฒนาการฝึกอบรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในตนเองสำหรับทุนมนุษย์ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาองค์กร เพราะหากบุคคลากรในองค์กรขาดทัศนคติที่ดี ความมุ่งมั่นทุ่มเท และรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งหรือมีความเป็นเจ้าขององค์กรแล้วย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานและการดำเนินงานขององค์กร

References

จารุเนตร เกื้อภักดิ์. (2559). แนวทางการพัฒนาศักยภาพสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จินต์จุฑา จันทร์ประสิทธิ์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรทางการศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สารนิพนธ์การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต).นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ธนยศ ชวะนิตย์. (2561). รูปแบบกระบวนทัศน์รัฐประศาสนศาสตร์เชิงวัฒนธรรม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 1 – 17.

ธารีรัตน์ ขูลีลัง. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการจัดการทุนมนุษย์: การสำรวจเชิงประจักษ์จากธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 196-211.

นิติพล ภูตะโชติ. (2556). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุษกร วัฒนบุตร. (2561). การสร้างตัวแบบการพัฒนาจริยธรรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 273-281.

พระสุธีวีรบัณฑิต (โชว์ ทสฺสนีโย) และคณะ. (2562). รัฐประศาสนศาสตร์เปลี่ยนโลก. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 300-314.

พัชรินทร์ คณิตชรางกูร. (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 (สารนิพนธ์การค้นคว้าอิสระ สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัตนาภรณ์ บุญนุช. (2555). การพัฒนาและฝึกอบรมที่มีผลต่อประสิทธิประสิทธิภาพของพนักงาน : กรณีศึกษาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต1 (ภาคกลาง) จังหวัดพระนครศรี อยุธยา (สารนิพนธ์การค้นคว้าอิสระ วิชาเอกการจัดการทั่วไป). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สยามพร พันธไชย. (2562). รูปแบบการจัดการความรู้ตามหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาบุคลากร ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 69-82.

สายสุนีย์ อัศวประเทืองสกุล. (2553). เปรียบเทียบการใช้กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการ). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุนันทา มิ่งเจริญพร. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับผลการดำเนินงานขององค์การของธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

อภิชาติ พานสุวรรณ. (2561). ผู้นำกับการสร้างความเปลี่ยนแปลง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 282-294.

Senge, M. P. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. London: Century Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-23

How to Cite

มะโนวัฒนา ช., วัฒนบุตร บ. ., ชวศิริกุลฑล น. ., & ศิริภูริพลังกร ก. . (2020). การศึกษาการฝึกอบรมทุนมนุษย์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในตนเอง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(4), 163–175. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/247690