มิติแห่งการแบ่งปัน: ภาพสะท้อนชีวิตและสังคมจากโรงทานสมัยพุทธกาลสู่ตู้ปันสุขยุคโควิด 19
คำสำคัญ:
มิติแห่งการแบ่งปัน, โรงทาน, ตู้ปันสุข, ภาพสะท้อนชีวิตและสังคมบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งนำเสนอมิติแห่งการแบ่งปันในพระพุทธศาสนาโดยวิเคราะห์จากโรงทานและตู้ปันสุขที่พบสาระสำคัญ 2 มิติ คือ มิติด้านผู้ให้ การแบ่งปันเป็นวิธีฝึกจิตเพื่อลดละความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัวสู่ความเป็นอิสระของจิตที่อยู่เหนือกิเลสดังกล่าว และมิติด้านสังคม การแบ่งปันเป็นรากฐานของการอยู่ร่วมกันที่ขาดไม่ได้ เป็นการสงเคราะห์กันด้วยสิ่งของ ธรรม ความรู้ รวมถึงการช่วยเหลือ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อกันด้วยจิตอาสาโดยไม่หวังผลตอบแทนที่เกิดจากจิตที่เปี่ยมด้วยความรัก ต้องการให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์ ประสบความสุข ด้านภาพสะท้อนชีวิตคือ ต้นทุนของชีวิตที่ไม่เท่าเทียมกัน ภัยคุกคามชีวิต และการเอาตัวรอด ชีวิตที่ไม่มีอะไรแน่นอน การแบ่งปันระหว่างผู้ให้ในฐานะผู้ต่อลมหายใจ ผู้รับในฐานะผู้ได้รับการต่อลมหายใจ และภาพสะท้อนสังคมคือ สังคมแห่งการพึ่งพาอาศัยกัน และต้นทุนทางสังคมคือน้ำใจที่ทำให้เกิดมิตรภาพที่ยิ่งใหญ่
References
พระพุทธโฆสาจารย์. (2522). ธมฺมปทฏฺฐกถาย ทุติโย ภาโค (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
พระสิริมังคลาจารย์. (2524). มงฺคลตฺถทีปนิยา ทุติโย ภาโค. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2532). อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺฐกถา. กรุงเทพฯ: วิญญาณ.
______. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
______. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
______. (2539). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: วิญญาณ.
วรรณา ประยุกต์วงศ์. (2550). คู่มือพัฒนาจิตอาสาพนักงานในองค์กรธุรกิจสู่ความสุขในการทำงาน. กรุงเทพฯ: เครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน.
สงวน โชติสุขรัตน์. (2553). ตำนานเมืองเหนือ (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: ศรีปัญญา.
AMRIN 34HD. (2563). เด็กชายเพชรบูรณ์เก็บผักมาแลกขนมใน “ตู้ปันสุข”. สืบค้น 10 มิถุนายน 2563, จาก https://www.amarintv.com/news/detail/32047
PPTV Online. (2563). เปิดต้นฉบับ “ตู้ปันสุข” New Normal การแบ่งปันช่วงโควิด.สืบค้น 28 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.pptvhd36.com/news/99/125238
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น