การเตรียมบริบทด้านบัณฑิตศึกษาสำหรับการนำ “การศึกษาชั้นเรียน” มาใช้ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อลิษา มูลศรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นฤมล ช่างศรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การศึกษาชั้นเรียน, การเตรียมบริบท, บัณฑิตศึกษา

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวทางการเตรียมบริบทด้านบัณฑิตศึกษาสำหรับการนำ“การศึกษาชั้นเรียน”มาใช้ในประเทศไทย เก็บรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ (Interview) ครูประจำการจำนวน 4 คน การสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม ศิษย์เก่านักศึกษาระดับปริญญาเอกจำนวน 17 คน และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับนักศึกษาระดับปริญญาโทจำนวน 18 คนและนักศึกษาระดับปริญญาเอกจำนวน 5 คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเพื่ออธิบายถึงทุกแนวทางที่เกิดขึ้นเพื่อให้เห็นถึงการเตรียมบริบทด้านบัณฑิตศึกษาสำหรับการนำ “การศึกษาชั้นเรียน” มาใช้ในประเทศไทย ตามกรอบแนวคิดการศึกษาชั้นเรียน

          ผลการวิจัยพบว่า แนวทางเกี่ยวกับการเตรียมบริบทด้านบัณฑิตศึกษาสำหรับการนำ“การศึกษาชั้นเรียน” มาใช้ในประเทศไทย ขั้นที่ 1 การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน 1) เข้าร่วมกระบวนการวางแผนการจัดกิจกรรม การลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้วางแผนร่วมกัน การสะท้อนร่วมกัน 2) ร่วมวางแผนเพื่อสนับสนุนการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในฐานะผู้ช่วยวิทยากรโดยร่วมวางแผนลำดับการอบรม สนับสนุนผู้เข้าร่วมอบรม ขั้นที่ 2 การสังเกตการสอนร่วมกัน 1) ลงมือปฏิบัติแก้ปัญหาปลายเปิด ตามแนวทางของการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด 2) เข้าร่วมกิจกรรมของสาขาวิชาเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการวางแผนกิจกรรม ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมลำดับขั้นตอนในการทำงานของแต่ละกิจกรรม 3) เข้าร่วมการประชุมวิชาการ ระดับนานาชาติทำให้เห็นถึงรูปแบบแนวทางการศึกษาชั้นเรียนในประเทศญี่ปุ่นและจากประเทศอื่นๆ ขั้นที่ 3 การสะท้อนผลบทเรียนร่วมกันของทีมการศึกษาชั้นเรียน การสะท้อนผลทำให้ทุกคนได้เรียนรู้มุมมองของครูที่อยู่ในชั้นเรียนกับนักเรียน มุมมองของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องทฤษฎี เนื้อหาสาระ

References

ไมตรี อินทร์ประสิทธ์. (2546). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนโดยเน้นกระบวนการทางคณิตศาสตร์. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

______. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. ขอนแก่น: บริษัทเพ็ญพรินติ้ง.

______. (2561). การศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิด: PLC ภาคปฏิบัติจริงในโรงเรียน เอกสารประกอบการอบรมคูปองพัฒนาครู หลักสูตรเพื่อการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสาการสอน หน่วยพัฒนาสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วีระศักดิ์ แก่นอ้วน. (2562). ค่านิยมหลักของนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา กรณีศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา) ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุดาทิพย์ หาญเชิงชัย. (2559). การศึกษาหลักสูตรผลิตครูคณิตศาสตร์ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Clea, F., & Makoto, Y. (2004). Lesson Study. London: Lawrence Erlbaum Associates.

Baba, T., & Kojima, M. (2004). Lesson Study. The History of Japan’s Education Development: What Implications Can Be Drawn for Developing Countries? Tokyo: Institute for International Development, JICA.

Lewis, C. (2002). Lesson study: A handbook of teacher-led instructional change. Philadelphia. PA: Research for Better Schools.

Inprasitha, M. (2011). One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand: Designing a Learning Unit. In Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia, 34(1), 47-66.

Inprasitha, M. et al. (2015). Lesson study: challenges in mathematics education New Jersey: World Scientific.

Stigler. J.W., & Hiebert, J. (1999). The Teaching Gap: Best Ideas From The World’s Teachers for Improving in The Classroom. New York: The Free Press.

Yoshida, M. (2005). An Introduction to Lesson Study. Building Our Understanding of Lesson Study. In Patsy W-I & Makoto Yoshida (eds). Philadelphia: Research for better schools, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-20

How to Cite

มูลศรี อ., อินทร์ประสิทธิ์ ไ. ., & ช่างศรี น. . (2021). การเตรียมบริบทด้านบัณฑิตศึกษาสำหรับการนำ “การศึกษาชั้นเรียน” มาใช้ในประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 90–98. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/246517