การศึกษาความสอดคล้องในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการประกอบอาชีพของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา การดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐระดับจังหวัด

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐกร วัธโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • นิสดารก์ เวชยานนท์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ความสอดคล้อง, นโยบายสาธารณะ, การส่งเสริมการประกอบอาชีพของผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสอดคล้องในเชิงนโยบาย ความสอดคล้องในเชิงงบประมาณ และความสอดคล้องในเชิงความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐระดับจังหวัด สังกัดกระทรวงแรงงานและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในจังหวัดสิงห์บุรีและชัยนาท จำนวน 16 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงานของรัฐระดับจังหวัดมีความสอดคล้องกับเป้าหมายของแผนปฏิบัติราชการประจำปี ของกระทรวง/กรมต้นสังกัด ซึ่งเชื่อมโยงไปยังการบรรลุเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในลักษณะการถ่ายโอนนโยบายแบบ Top-down 2. งบประมาณที่ได้รับจัดสรรเป็นไปตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีมีความเพียงพอสามารถนำไปขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดและ 3. บุคลากรมีความเข้าใจในแนวนโยบาย แผนปฏิบัติราชการ แผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม การกำหนดและถ่ายโอนนโยบายแบบ Top-down มีอุปสรรคสำคัญ คือ ผลลัพธ์จากการขับเคลื่อนนโยบายไม่สอดคล้องกับบริบทความต้องการของผู้สูงอายุในพื้นที่อย่างครอบคลุม

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562. สืบค้น 9 มีนาคม 2563, จาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1580099938-275_1.pdf

ฉมานันท์ แก้วอินต๊ะ. (2554). การนำแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552 ไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. วารสารสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 3(16), 1-19.

ธาริน สุขอนันต์และคณะ. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(3), 240-249.

ประภาพร มโนรัตน์. (2556). ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง: ผลกระทบและบทบาทสังคมกับการดูแล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 5(2), 98-103.

Beazley, I. (2017). Best Practices in Performance Budgeting. Retrieved March 15, 2020, from https://www.slideshare.net/OECD-GOV/best-practices-in-performance-budgeting-ivor-beazley-oecd

Fonvielle, W. & Carr, L. P. (2001). Gaining Strategic Alignment Making Scorecards Work. Retrieved March 11, 2020, from https://www.imanet.org//media/48af01ed3df5433b83e4e2a26d76693b.ashx

Harrington, H. & Voehl, F. (2012). The Organizational Alignment Handbook. Boca Raton: CRC Press.

OECD. (2019). OECD Best Practices for Performance Budgeting. Paris: OECD Publishing.

Sherina et al. (2003). Factors Associated with Depression among Elderly Patients in a Primary Health Care Clinic in Malaysia. Asia Pacific Family Medicine, 2(3), 148-152.

Sholihah et al. (2019). PSS Strategic Alignment: Linking Service Transition Strategy with PSS Business Model. Open Acess Journal, 11(22), 1-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22

How to Cite

วัธโท ณ., & เวชยานนท์ น. (2020). การศึกษาความสอดคล้องในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการประกอบอาชีพของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา การดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐระดับจังหวัด. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(4), 88–101. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/246516