การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ของเทศบาลในจังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
พุทธธรรม, การพัฒนาศักยภาพ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพผู้สูงอายุ ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพผู้สูงอายุ และนำเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุของเทศบาลในจังหวัดลำพูน เป็นการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเทศบาลตำบลอุโมงค์ ตำบลบ้านกลาง ตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน 380 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ศักยภาพผู้สูงอายุของเทศบาลในจังหวัดลำพูน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.89) 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพผู้สูงอายุได้แก่ ปัจจัยการบริหาร หลักการมีส่วนร่วม และหลักไตรสิกขา ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยการบริหาร (X1) หลักการมีส่วนร่วม (X2) หลักไตรสิกขา (X3) มีอิทธิพลต่อศักยภาพผู้สูงอายุของเทศบาลในจังหวัดลำพูน (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. เทศบาลมีการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ โดยอบรมความรู้หลักของศีล 5 มีการไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกลม เจริญภาวนา และจัดกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาปัญญาที่จะนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุข ปฏิบัติสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน
References
เจริญ นุชนิยม. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยวิธีพุทธบูรณาการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(2), 619-631.
คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็นด้านผู้สูงอายุและสังคมสูงอายุ (2556-2559). สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2562, จาก https://ora.kku.ac.th/Research_Inside.pdf.
นิดา ตั้งวินิต. (2559). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการแพทย์แบบองค์รวมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บุญทัน ดอกไธสง และคณะ. (2562). กลไกการขับเคลื่อนศักยภาพขีดความสามารถของผู้สูงอายุโดยบูรณาการหลักพุทธธรรม. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies, 8(1), 26-27.
พระครูสมุห์จิรชาติ พุทฺธรกฺขิโตและคณะ. (2563). ประสิทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 9(2), 156-165.
พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร). (2562). การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการเสริมสร้างสุขภาวะและเครือข่ายทางสังคม เพื่อลดเหล้าบุหรี่เชิงพุทธบูรณาการในจังหวัดนนทบุรี, วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(4), 1-16.
พิรญาณ์ โคตรชมภู. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังเชิงพุทธบูรณาการ. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภานุกฤษฏิ์ พิศิษฎ์สกุลชัย. (2560). วิเคราะห์รูปแบบการบริหารตามหลัก TQM เชิงพุทธ, (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานสถิติจังหวัดลำพูน. (2562). วิเคราะห์และสรุปสถานการณ์ผู้สูงอายุของจังหวัดลำพูน, สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2562, จากhttp://lamphun.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=431:20-9-60-10-44&catid=113&Itemid=614.
สุโขทัยธรรมาธิราช. (2562). สังคมผู้สูงอายุ : นัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ. สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/05-04-02.html.
สุพัตรา สุภาพ. (2543). ปัญหาสังคม. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Yamane, T. (1967). Statistic: and introductory analysis. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น