การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ของกลุ่มบริษัทประกันภัยตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการ กำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

ผู้แต่ง

  • ปัญม์ณิสาธ์ องค์ปรัชญากุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน, นโยบาย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการ ปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและนำเสนอการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของกลุ่มบริษัทประกันภัยตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 450 คน ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน สนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน วิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธีการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบประกอบด้วยตัวแปรแฝงภายนอก 2 ตัว คือ การบริหารจัดการ และการกำกับและส่งเสริม ตัวแปรแฝงภายใน 2 ตัว คือ การบริหารจัดการการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และหลักอิทธิบาท 4 2. โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ 144.20 องศาอิสระ 118 ความน่าจะเป็น 0.051 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้อง 0.94 ค่ารากกำลังสองของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.041 พบว่าการบริหารจัดการมีอิทธิพลส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของกลุ่มบริษัทประกันภัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. การพัฒนารูปแบบต้องมีปัจจัยการบริหารจัดการเป็นพื้นฐาน ปัจจัยการกำกับและส่งเสริมเป็นการดูแลสนับสนุน และบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาระบบงานและบุคลากร

References

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีเปรม นนทลีรักษ์. (2554). ความสำเร็จของการประยุกต์ใช้การบัญชีต้นทุนคุณภาพของบริษัทที่ได้รับรองมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 ในประเทศไทย. สุทธิปริทัศน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 22(67), 1-16.

ปัญม์ณิสาธ์ องค์ปรัชญากุล. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของกลุ่มบริษัทประกันภัยตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมมิก จำกัด.

พิชิต ปุริมาตร. (2557). สมรรถนะการให้บริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในกำกับของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มัลลิกา บุญนาค. (2537). สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2545). การจัดการคุณภาพ. อุบลราชธานี: พิมพลักษณ์.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. (2555). คู่มือปฏิบัติงานสำหรับนายหน้าประกันชีวิต หลักสูตรขอต่ออายุใบอนุญาตนายหน้าประกันชีวิต ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย.

__________. (2559). แผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2559–2563). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย.

__________. (2559). ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย.

__________. (2559). ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการออกกรมธรรม์ประกันภัย การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยและการชดใช้ เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบ ธุรกิจประกันภัย.

สุภัทรชัย สีสะใบ. (2562). การพัฒนาโมเดลประสิทธิผลพุทธวิธีการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชนการเกษตร (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2549). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2559). แนวทางการศึกษากรอบแนวคิดและทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยรัฎร้อยเอ็ด, 10(1), 26-29.

Lindeman, R.H. et al. (1980). Introduction to Bivariate and Multivariate Analysis. Scott Foresman: Glenview. IL.

Weiss, R. (1972). The Provision of Social Relationship. In Z. Rubin (Ed). Doing Unto others Englewood Cliff. N. J : Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22

How to Cite

องค์ปรัชญากุล ป., ดอกไธสง บ. ., & สุยะพรหม ส. . (2020). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ของกลุ่มบริษัทประกันภัยตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการ กำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(4), 27–39. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245796