ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
คำสำคัญ:
ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ คุณภาพชีวิตการทำงาน ข้าราชการตำรวจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2) ทดสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 3) ศึกษาอิทธิพลทางตรง ทางอ้อม และอิทธิพลรวม ของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 4) เพื่อเสนอแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีข้อค้นพบดังนี้
- คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจ ได้รับอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกจากตัวแปรภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตย โดยผ่าน ตัวแปรสภาพแวดล้อม และตัวแปรทรัพยากรทางการบริหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
- คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจ ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากตัวแปรสภาพแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจ ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากตัวแปรทรัพยากรทางการบริหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
Chanchai Chitlaoarporn (2549).Modern Police State : State and Society Relation
During The Prime Ministership Thaksin Shinawatra, 2544-2549 (Doctoral Dissertation). Bangkok : Chulalongkorn University.
Jirachoke Virasaya , Suraphol Rajbhandaraks and Suraphan Thabsuwan.
(2558). General Political Science. Bangkok :Ramkhamhaeng University Press.
J Judith R. Gordon and associates. (1990). Management and Organizational Behavior. Boston: Allyn and Bacon. With R.Gordon and associates.
Jay B. Barney and Ricky W. Griffin. (1992).The Management of Organizations. Boston: Houghton Mifflin Company.
Phrarajva Chirmedhi. (2559). The Model of Leadership According to Buddhism of Administrators in Buddhist University of Thailand. Journal of MCU Social Science Review, 5(1), 1-16.
Pimchana Sriboonyaponrat (Supap Choomram).(2556). Implementation of The Policy On Promoting and Developing The Quality of Life of The Physically Challenged in Thailand (Doctoral Dissertation). Bangkok : Ramkhamhaeng University.
Rangsan Prasertsri. (2544). Leadership. Bangkok : Thanatuch Printing Co.,Ltd.
Stephen P. Robbins. (1990) .Organization Theory: Structure Designs and Application 3rd edition. Englewood Cliffs New Jersey: Prentice-Hall, Inc.
Sirgy, M. J., Efraty, D., Siegel, P., & Lee, D. J. A New Measure of Quality of Work Life (QWL) based on need satisfaction and spillover theories. Social Indicators Research, 55, 2001.
Siriwan Sareerat , et al.(2546). New Age Marketing Management. Bangkok :
Tawan Printing House.
Siriwat Srirueong (2559). Integration of Buddhist Psychology : Concepts and
Model Building to Reduce The Rate of Suicide Teen in Thailand Society. Journal of MCU Social Science Review, 5(3),15-27.
Termsak Thongin (2559). Potentiality in Human Rrsources Management as Expected by The Executive of Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Journal of MCU Social Science Review, 5(2),229-237.
Voradej Chandarasorn (2551) . From Policy to Implementation : Knowledge Theoretical Mode and Evaluation of Success and Failure . Bangkok : Chili Sweet Graphic.
Vinai Thongchai ,Pol.Col. et al.(2557). Qualitative Education Cause of Death of Police : Case Study Suicide of a Police Officer, 2555-2556. Police General Hospital of the ROYAL THAI POLICE.
Wannee Kaemkate.(2555). Research Methodology in Behavioral Sciences.(3rd ed.)
Bangkok : Chulalongkorn University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น