การพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศด้านคุณภาพผู้เรียนเพื่อการบริหารงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ พินนอก มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • ปรีชา วิหคโต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

โปรแกรมสารสนเทศ การบริหารงานประกันคุณภาพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศด้านคุณภาพผู้เรียนเพื่อการบริหารงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 มีวิธีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ขั้นที่ 2 การสร้างโปรแกรมสารสนเทศด้านคุณภาพผู้เรียนเพื่อการบริหารงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ขั้นที่ 3 การหาประสิทธิภาพโปรแกรมต้นแบบสารสนเทศด้านคุณภาพผู้เรียนเพื่อการบริหารงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน และขั้นที่ 4 การทดลองใช้โปรแกรมสารสนเทศด้านคุณภาพผู้เรียนเพื่อการบริหารงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) เอกสาร ตำราบทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 80 เล่ม 1) ผู้เชี่ยวชาญทาง ด้านการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน จำนวน 5 คน 3) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้โปรแกรมสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน โดยการจัดกลุ่มสนทนา จำนวน 9 คน และ4) ผู้บริหารโรงเรียน ผู้รับผิดชอบงานด้านสารสนเทศและงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบหัวหน้ามาตรฐาน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบสอบถามแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมและแบบประเมิน ผลการใช้โปรแกรมสารสนเทศด้านคุณภาพผู้เรียนเพื่อการบริหารงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 โดยการใช้โปรแกรมตารางการทำงาน ซึ่งเป็นโปรแกรมตารางทำงาน นี้ได้ถูกออกแบบให้ใช้สำหรับการคิดคำนวณขึ้นมาโดยเฉพาะให้มีการพัฒนาโปรแกรมตารางทำงานเชื่อมไมโครซอฟต์ Excel โปรแกรมที่พัฒนาใช้ภาษา PHP เป็น Open  Source ที่ทำงานได้รวดเร็ว โดยการพัฒนาผ่านโปรแกรม Cloud Application ประกอบด้วยส่วนของผู้ใช้งานที่เป็นผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน ครูผู้สอน และครูผู้ดูแลระบบ จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญพบว่าโปรแกรมที่สร้างขึ้นโดยรวมมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในระดับดีมาก( =4.80,S.D.=0.25) ด้านที่มีความเหมาะสมและเป็นไปได้มากเรียงลงไปตามลำดับได้แก่ ด้านกระบวนการทำงาน ( =4.87,S.D.=0.30) ด้านผลลัพธ์หรือรายงานผลการประเมิน ( =4.83,S.D.=0.19) และด้านการออกแบบ ( =4.70,S.D.=0.41) และด้านโปรแกรมสารสนเทศด้านคุณภาพผู้เรียนเพื่อการบริหารงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนี้มีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้โดยรวมมีประสิทธิภาพในระดับดีมาก ( =4.90,S.D.=0.12) ด้านที่มีประสิทธิภาพดีมากเรียงลงไปตามลำดับ ได้แก่ ด้านกระบวนการทำงาน ( =4.91,S.D.=0.12) ด้านผลลัพธ์หรือการรายงานผลการประเมิน ( =4.90,S.D.=0.19)และด้านการออกแบบ ( = 4.89,S.D.=0.16)

References

Ariyasom, S. (2009).The Development of Information system for Internal Quality Assurance of Non formal and Informal Education District in Lampang. (Master,s Thesis of Education (Measurement and Evalution in Education) SukhothaiThammathirat Open University. (in Thai).

Kothuta, I.,Sawaingam, K., (2010). The research and Development report of informationEducationQuality Assuranceon Network Project.(Applied Physics and Computer Engineering Faculty of Engineering, RajamangalaUniversity of Technology IsanKhonkaen Campus.).. (in Thai).
Purotakanon, K. (2001). The Developmenof information system for Education Quality AssuranceinSecondary Education.(Master’s thesisEducation (Education Management), SukhothaiThammathirat Open University).
(in Thai).
Rakngam, C. (2006). The Development of information system for Education Quality
AssuranceIn Education Service Area.(Master’s thesis of ducation, Education Administration,Burapha University.). (in Thai).
Rogers, Everett M.(1983).Diffusion of Innovation. New York : The Free Press. Seuchavakornkul, C. (2007). An Operation Internal Quality for Pong LuangWittaya RatchamangPhisck School Lampang. (Independent Study Master ’s thesis of Education Educational nistration, ChiangmaiUniversity.). (in Thai).
Suk Samran, S. (2017) The development quality format something , administrate , manage to the excellence , fruits and dry food prepared for monks during a asset guaranty health level locality sp , journal , wander , social eriscope science , year that 6 that 1 January - March 2560, 241 duties.
Supatheerathada, J.(2017) format development for support having dharma in annual government statement of expenditure procedure , social science periscope journal , year that 6 that 1 January - March 2560, 221 duties. Wechayaluck, N. A Study on the Conditions and Guidelines for Internal Education Quality Assurance Operation under Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 1. Journal of Yala Rajabhat University 11(1),185- 197,2016

เผยแพร่แล้ว

2020-08-02

How to Cite

พินนอก ธ. . ., & วิหคโต ป. . . (2020). การพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศด้านคุณภาพผู้เรียนเพื่อการบริหารงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(3), 113–125. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245656