มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมและคุ้มครองวิสาหกิจชุมชนเพื่อคุ้มครอง อัตลักษณ์ของชุมชน : ศึกษากรณี ชุมชนบ้านมอญ จังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
มาตรการทางกฎหมาย วิสาหกิจชุมชน คุ้มครองอัตลักษณ์ของชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษามาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมและคุ้มครองวิสาหกิจชุมชนเพื่อคุ้มครองอัตลักษณ์ของชุมชน ศึกษากรณี : ชุมชนบ้านมอญ จังหวัดนครสวรรค์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาวิสาหกิจชุมชนบ้านมอญเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองอัตลักษณ์ของชุมชน 2) วิเคราะห์ถึงแนวคิด รูปแบบ และปัจจัยทางกฎหมายที่ส่งผลต่อวิสาหกิจชุมชนบ้านมอญ 3) ศึกษาแนวทางและหามาตรการในทางกฎหมายในส่งเสริมและคุ้มครองอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านมอญเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดำเนินการโดยกระบวนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เจาะลึก โดยสร้างเครื่องมือสำรวจข้อมูลและจากเอกสารทางวิชาการ งานวิจัย ตำรา สื่อออนไลน์และบทความที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นดังต่อไปนี้ 1. วิสาหกิจชุมชนบ้านมอญเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองอัตลักษณ์ของชุมชน จากการศึกษาพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญเกิดจากการรวมกลุ่มกันของสมาชิกในชุมชนบ้านมอญที่ประกอบอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาซึ่งได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษของชาวมอญที่ผสมผสานกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเป็นอยู่และการดำรงชีพของชาวมอญในการทำเครื่องปั้นดินเผาที่ได้รับสืบทอดขั้นตอนและวิธีการทำ ตลอดจนลวดลายมาจากบรรพบุรุษ รวมถึงเนื้อดินทำให้มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ประกอบกับการคิดค้นและพัฒนาลวดลายขึ้นใหม่ โดยอาศัยต้นทุนทางภูมิปัญญาดั้งเดิม โดยภาครัฐได้กำหนดแนวทางในการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเพื่อการยกระดับคุณภาพคน โดยการเสริมสร้างองค์ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ตามรัฐธรรมนูญ ทั้งยังมีพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและประมวลรัษฎากรที่ได้บัญญัติให้ความคุ้มครองอัตลักษณ์วิสาหกิจชุมชน 2. แนวคิด รูปแบบ และปัจจัยทางกฎหมายที่ส่งผลต่อวิสาหกิจชุมชนบ้านมอญ จากการศึกษาพบว่า วิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญเป็นการรวมกลุ่มกันโดยมีแนวความคิดเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนและพัฒนาจากทางภาครัฐ เพื่อการขอกู้ยืมเงินจากทางธนาคาร เพื่อพัฒนาต่อยอดกิจการในระหว่างกลุ่ม โดยมีรูปแบบการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญโดยมีการจดทะเบียนกลุ่มกับเกษตรอำเภอเมืองนครสวรรค์ เพื่อขอรับการส่งเสริมจากทางภาครัฐตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการผลิตสินค้า สร้างรายได้สู่ชุมชนและเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชนโดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวมอญมาสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นสินค้า โดยมีพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเป็นปัจจัยทางกฎหมายที่บัญญัติให้การส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามแนวนโยบายแห่งรัฐและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ซึ่งสอดรับกับแผนปฏิบัติการ 21 ตามปฏิญญาโจฮันเนสเบอร์กว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3. แนวทางและมาตรการในทางกฎหมายในส่งเสริมและคุ้มครองอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านมอญเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จากการศึกษาพบว่า แม้ภาครัฐจะมีแนวทางในส่งเสริมอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านมอญโดยการจัดอบรม สัมมนาเพื่อส่งเสริมและพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน แต่ภาครัฐควรพัฒนารูปแบบการทำเครื่องปั้นดินเผาให้มีความหลากหลายอันเป็นการสร้างจุดขาย การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาด โดยให้การสนับสนุนด้านงบประมาณหรือจัดตั้งกองทุน ทั้งควรมีมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองอัตลักษณ์วิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา โดยควรมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรอง เครื่องหมายร่วมและขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
References
_____________. (2005). Conceptual Framework from Master Plan to Community Enterprises. Bangkok. Chareonwit Publishing.
_____________. (2009). Manual for Community Enterprises. Bangkok: Palungpanya Publishing.
Kadee. K. et al. (2004). Research report: Knowledge management to proceed and increase organic sesame oil production towards self-reliance community enterprise at Muang district. Mae Hong Son province Phrase 1. research and development institute. Chiang RaiRajabhat University.
Kittisopon. P. (2005). Enhancement of community strength according to the Community Enterprise Promotion Act 2005: A case study of suppliers (Master’s thesis). NaresuanUniverity. Phitsanulok: Thailand.
Secretariat Office of Community Enterprise Promotion Board. (2005). The Community Enterprise Promotion Act 2005. Bangkok: Department of Agricultural Extension. Ministry of Agriculture and Cooperatives.
_____________. (2003). Identity. Theoretical Review and Conceptual Framework. Bangkok: National Research Council of Thailand.
Srisopa. N. (2010). Identity of community participatory of basic education management at Prachawittayakarn School. Ulok Si Muensubdistrict. ThaMaka district. Kanchanaburi province. (Master’s thesis). KanchanaburiRajabhatUniverity. Kanchanaburi : Thailand.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น