รูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภาคเหนือตอนล่าง
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ พัฒนาชุมชนยั่งยืนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภาคเหนือตอนล่าง 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะภาวะผู้นำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภาคเหนือตอนล่าง 3. เพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภาคเหนือตอนล่าง ตามหลักภาวนา 4
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 2 จังหวัดได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดกำแพงเพชร รวม 2 แห่ง โดยการวิจัยครั้งนี้ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 20 รูปหรือคน และการสนทนาเฉพาะกลุ่ม จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการพรรณนาความ นำสาระสำคัญที่ได้จากการสัมภาษณ์ สรุปเป็นประเด็นปัจจัยสำคัญๆ นำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภาคเหนือตอนล่าง ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง รวมจำนวน 367 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
- คุณลักษณะภาวะผู้นำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภาคเหนือตอนล่าง พบว่า การตัดสินใจของผู้นำนั้นต้องยึดหลักประชาธิปไตย เป็นการฟังเสียงส่วนใหญ่ที่ประกอบพร้อมไปด้วยความชอบธรรม มุ่งงาน ประกอบด้วยคุณลักษณะภาวะผู้นำ 3 ด้าน คือ ผู้นำเชิงพฤติกรรมที่มุงนำด้วยการทำงานให้สำเร็จโดยชอบธรรมอยู่ในระดับน้อย ผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงที่เข้าใจความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอยู่ในระดับปานกลาง และผู้นำตามสถานการณ์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้ดีอยู่ในระดับปานกลาง ในภาพรวมคุณลักษณะภาวะผู้นำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์อยู่ในระดับปานกลางยังต้องพัฒนา
- ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะภาวะผู้นำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภาคเหนือตอนล่าง พบว่า คนที่จะทำงานรับใช้ประชาชนบริการชุมชน ต้องมีความอดทน ไม่มีอคติ ซื่อสัตย์ มีความประพฤติดีซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาทางกายภาพ การพัฒนาพฤติกรรมและการพัฒนาปัญญาการพัฒนาทางกายภาพหรือกายภาวนาเป็นปัจจัยให้เกิดคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาด้านพฤติกรรมคือศีลภาวนาเป็นปัจจัยให้เกิดคุณลักษณะภาวะผู้นำด้านพฤติกรรมที่มุ่งทำงานให้สำเร็จโดยชอบธรรม และการพัฒนาจิตใจและปัญญาเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดคุณลักษณะภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่สามารถนำตน นำคน นำงานได้ในทุกสถานการณ์
- รูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำ 3 ด้านของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภาคเหนือตอนล่าง ตามหลักภาวนา 4 มีดังนี้
3.1 ด้านภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม พบว่า 3.1.1 กายภาวนาเพื่อพัฒนาผู้นำกลุ่มให้เป็นผู้มีบุคลิกลักษณะดี น่าเชื่อถือ 3.1.2 ศีลภาวนา เพื่อพัฒนาผู้นำให้ยึดหลักการมีส่วนร่วมยึดมั่นในกฎระเบียบ 3.1.3 จิตภาวนาเพื่อพัฒนาผู้นำให้เป็นคนที่ไม่มีอคติคือความลำเอียง 4อย่างในจิตใจของตน 3.1.4 ปัญญาภาวนาให้ผู้นำกลุ่มมีปัญญาเฉลียวฉลาด ใช้ปัญญาไปสร้างแรงจูงใจแก่สมาชิก ให้อยู่ในศีลธรรม คิดดี พูดดี ทำดี
3.2 ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพบว่า 3.2.1 กายภาวนา เพื่อพัฒนาสมาชิกทุกคนในชุมชนให้มีสุขภาพแข็งแรงความเป็นอยู่ที่ดี 3.2.2 ศีลภาวนาเพื่อการสร้างสรรค์อาชีพเสริม และความซื่อสัตย์สุจริต 3.2.3 จิตตภาวนา เพื่อให้มีจิตใจที่ดีมีการให้คำปรึกษาแก่สมาชิกที่มีบูรณาการหลักธรรม 3.2.4 ปัญญาภาวนา เพื่อพัฒนาให้เกิดปัญญาให้มีความรู้ความสามารถในการให้ความรู้ทางวิชาการทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
3.3 ด้านภาวะผู้นำตามสถานการณ์ ต้องใช้หลักภาวนา 4 ทุกด้านมาพัฒนาให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับสมาชิก ก่อให้เกิดทักษะการทำงานแก้ไขปัญหาได้ในทุกสถานการณ์ ผู้นำสามารถนำสมาชิกเข้าวัดฟังธรรม เพื่อกล่อมเกลาให้มีการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ให้ผู้นำกลุ่มมีจิตเมตตา กรุณา มีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล
References
Mittheevivatrakul. (2559). Model of Role Development in Local Government Administration of Women in Thailand. Journal of Social Sciences,5(2),31-42
Phra Khru Wibulthithham. (2558). Documentary lecture on the collection of Wat Nong Phayom. Nong Phraya Market Demonstration Center.
Phra Thep Phutiyatmatee (Sarit Siri). (2010). Buddhist Leadership and Conflict Management in Thai Society. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phraracchapariyatvithan. (2016, May - August). Buddhist Integrity in Human Resource Development of Prathom Suksa School, Department of General Education, Group 4. Journal of Social Sciences,5(2),55-65.
Pudongsak Chamnanbruk. (2009). Model of capacity development of personnel in emergency medical services in the community: case study in Thailand and the public for the Lao People's Democratic Republic. Department of Strategy Development. Graduate School: Loei Rajabhat University.
Wanayawan Wan. (2558). Development of Buddhist Leadership of the Teachers of the School of General Education, Group 3. Journal of Social Sciences,2(2).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น