การลงโทษโดยสังคม
คำสำคัญ:
การลงโทษ สังคมบทคัดย่อ
แนวคิดเรื่อง “ประชาสังคม” หรือการลงโทษโดยสังคม ในสังคมไทยเราอาจคุ้นชินกับคำว่า “คาบาตร” ทั้งเป็นคาที่มีฐานมาจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาด้วย โดยยกสาเหตุที่ “กษัตริย์ลัทฆลิจฉวี” กล่าวโจทย์พระทัพพะมัลบุตรที่ไม่มีมูลความจริง ใส่ความ พระพุทธเจ้าอนุญาตให้มีการ “ควาบาตร” (วิ.จุ.[ไทย] 7/226/46-47) โดยการไม่คบค้าสมาคม จากคณะสงฆ์และชาวพุทธนัยยะหนึ่งเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเชิงพฤติกรรม และการปรับท่าทีที่ถูกต้องต่อเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงนั้น รวมทั้งมีความหมายเป็นการควบคุม หรือภายหลังพุทธปรินิพพาน พระคณะสงฆ์ได้ประกาศลงพรหมทัณฑ์ แก่ “พระฉันนะ” ที่สาคัญตนว่าเป็นสหชาติใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้า ว่ายากสอนยาก ด้วยการไม่คบค้า สมาคม ไม่พูดคุย สนทนาด้วย จนกว่าจะเปลี่ยนพฤติกรรม (วิ.มหา.(ไทย) 1/424/454-455) ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นทั้งกลไกการแทรกแซง และการควบคุมจริยธรรมทางสังคม ดังนั้นเมื่อมาพบหนังสือของ ศ.ดร.ศังศิต พิริยรังสรรค์ ซึ่งท่านมีงานเขียน ข้อคิด และงานวิจัยจานวนมากเกี่ยวกับ “ธุรกิจการเมือง” หรือธุรกิจมืดอันสัมพันธ์กับระบบการเมืองไทย ในบทศึกษานี้จึงสนใจที่จะศึกษาว่าผู้เขียนต้องการเขียน หรือเสนออะไรในบริบททางการเมืองในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อพิจารณาถามว่าประเด็นของการควบคุมด้วยสังคม เป็นกลไกที่มีแต่อดีต แต่น่าสนใจตรงที่ว่าผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลอันเป็นแนวคิด รวมทั้งยกกรณีตัวอย่างมาสะท้อนคิดปรากฏในการเมืองในแต่ละประเทศ อาทิ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ อียิปต์ อินโดนีเซีย รวมไปถึงการยกกรณีการเมืองไทยในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาทาให้เห็นพัฒนาการของการเมืองไทย และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในบริบท “การลงโทษโดยสังคม-Social Sanctions” ที่ถูกขับเคลื่อนนับเป็นความแหลมคมทางการเมืองด้วยเช่นกัน ซึ่งจะได้นามาแบ่งปันโดยการแนะนาหนังสือให้ทราบในภาพรวม ร่วมกัน
References
udicial,political,and social shaming. Journal for the study of the old
testament, 16(49), 47-76.
Coleman,James S. (1990). Foundations of Socail Theory. Belknap Press of Harvard
University Press.
Kasean Thechapeera. (2004). Buch and Thaksin. Bangkok : Kob Fai Press. (Thai)
Nakharin Mekhatrairat. (2005). Impact and Political Changed after the election of
members of the House of Representatives,2005 : Pol Kra Tob Lea Kwam
Pean Pleang thang Kan Mueng Pai Lang kan Leuk Tung Samachik Sapha
Phutean Ratchadon Pee 2548. Bangkok : Thamnasart Univerisity. (Thai)
Rungsun Thanapornpun. (2005). From Thaksinomics to Thaksinocracy Phak 1.
Bangkok : Openbooks. (Thai)
Royal Acadamy. (2003). Thai Dictionary version Royal Acadamy ,Year 1999. Bangkok
: Nan Mee Books Publication. (Thai)
Radcliff-Brown,A.R. (1952). Structure and function in primitive society. Illinois : The
free Press.
Sungsit Piriiyarungsun. (2006). Total Corruption : Corruption Bab Bed Set. Bangkok :
Ruomdouy Choui Kun. (Thai)
Sungsit Piritarungsun. (2010). Systematic Corruption :Innovations to control :
Corruption Cheng Rabob : Navattakum Tee Thong Koub Khum.
Phatumtanee : College of Innovation, Rungsit University. (Thai)
Therayuth Boonmee. (2006). Judiciryization-Tulakarnphiwat. Bangkok : Winyuchon
Press. (Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น