การบริหารจัดการแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ของกองทุนแม่ของแผ่นดิน : กรณีศึกษาหมู่บ้านต้นแบบ ในจังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
กองทุนแม่ของแผ่นดิน ยาเสพติดในชุมชน การบริหารจัดการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนของกองทุนแม่ของแผ่นดินในจังหวัดสมุทรสาคร (2) ศึกษาระดับ การดำเนินงานตามตัวชี้วัดผลสำเร็จของกองทุนแม่ของแผ่นดินในจังหวัดสมุทรสาคร (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการบริหารจัดการในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดกับระดับ การดำเนินงานตามตัวชี้วัดผลสำเร็จของกองทุนแม่ของแผ่นดินในจังหวัดสมุทรสาคร และ (4) เสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการเบื้องต้นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนของกองทุนแม่ของแผ่นดินในจังหวัดสมุทรสาคร ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงผสม โดยรวบรวมข้อมูลจาก (1) ผู้มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับกองทุนแม่ของแผ่นดินในระดับนโยบาย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ และ (2) ผู้ดำเนินงานของกองทุนแม่ของแผ่นดินระดับพื้นที่ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์และตอบแบบสอบถาม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ระดับการบริหารจัดการในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนของกองทุนแม่ของแผ่นดินในจังหวัดสมุทรสาคร ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละปัจจัยพบว่า ด้านการบริหารแบบทีมงาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด โดยมีด้านภาวะผู้นำ มีค่าเฉลี่ยมากกว่าทุกด้าน รองลงมาตามลำดับคือ ปัจจัยการบริหารแบบ 7’s โดยมีด้าน shared values มีค่าเฉลี่ยมากกว่าทุกด้าน และปัจจัยการบริหารแบบเครือข่าย มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด โดยมีด้านปฏิสัมพันธ์ภายในเครือข่าย มีค่าเฉลี่ยมากกว่าทุกด้าน และผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า ปัจจัยการบริหารจัดการทั้ง 3 ระดับมีความเชื่อมโยงและส่งผลกระทบต่อกัน โดยกองทุนแม่ที่มี
ทีมงานของแต่ละฝ่ายงานที่เข้มแข็ง และมีศักยภาพสูงจะทำให้กองทุนแม่ของแผ่นดินสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางและเป้าหมายที่กำหนด และช่วยให้การสร้างเครือข่ายได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน และเครือข่ายอื่นๆ เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด และร่วมดำเนินงานในเรื่องอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนต่อไป
- ระดับการดำเนินงานตามตัวชี้วัดผลสำเร็จของกองทุนแม่ของแผ่นดินในจังหวัดสมุทรสาคร ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละเรื่องพบว่า เรื่องจำนวนเงินพระราชทานขวัญถุงอยู่ครบเต็มจำนวน มีค่าเฉลี่ยมากกว่าทุกเรื่อง และเรื่องกองทุนแม่ฯ ของท่านเป็นแหล่งศึกษาดูงานของกองทุนแม่ฯ อื่นๆ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า ผลสำเร็จในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกองทุนแม่ของแผ่นดิน ในจังหวัดสมุทรสาคร อาจพิจารณาได้จาก (1) การสมทบทุนเงินพระราชทานขวัญถุง (2) การจัดกิจกรรมกองทุนแม่ของแผ่นดินในรูปแบบต่างๆ ภายในหมู่บ้าน/ชุมชน (3) การจัดทำบัญชี รับจ่ายเงินกองทุนแม่ของแผ่นดินที่ถูกต้องตามหลักและเป็นปัจจุบัน (4) ศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน (5) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และขยายความร่วมมือจากกลุ่มต่างๆ ภายในชุมชน (6) กระบวนการสร้างชุมชนเข้มแข็ง 9 ขั้นตอน
- ปัจจัยการบริหารจัดการมีความสัมพันธ์กับระดับการดำเนินงานตามตัวชี้วัดผลสำเร็จของกองทุนแม่ของแผ่นดินในจังหวัดสมุทรสาคร อยู่ในระดับมาก โดยมีปัจจัยการบริหารแบบทีมงาน มีความสัมพันธ์มากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยการบริหารแบบ 7’s และปัจจัยการบริหารแบบเครือข่าย มีความสัมพันธ์น้อยที่สุด
- แนวทางการบริหารจัดการเบื้องต้นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนของกองทุนแม่ของแผ่นดินในจังหวัดสมุทรสาครคือ (1) จัดตั้งศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน (2) การปราบปรามเชิงรุก (3) การป้องปรามในพื้นที่ (4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่ชุมชน (5) การพัฒนาศักยภาพ (6) การปรับปรุงระบบงาน (7) การประชาสัมพันธ์ (8) การบูรณาการเพื่อขยายผล และ (9) การกำหนดตัวชี้วัด
References
Bass. Bernard M. and Riggio. Ronald E. (2006). Transformational Leadership. NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
Buskorn Wattanabut (2559, May-August). Organization Management towards Learning Organization Based on Buddhist Intelligence. MCU Journal of Social Sciences, 5(2).205-220.
Certo. Samuel C. (2000). Modern Management. New Jersey: Prentice-Hall.
Chalermprom Ittiyaporn. (2558). Effectiveness of Crime Suppression of Cholburi Provincial Police Cammand. 2nd Region Provincial Police Command. Office of National Police (Doctor of Philosophy Thesis). Sripatoom University.
Jr.. Robert H. Waterman. Thomas J. Peters. & Phillips. Julien R. (1980). Structure Is Not Organisation. in Business Horizons. 23.(3).14-26.
Kriangsak Chareornwongsak. (2543). Network Management: Important Strategy for Educational Reform Success. Bangkok: Success Media
LaFasto. F.. & Larson. C. (2001). When Teams Work Best: 6.000 Team Members And Leaders Tell What It Takes To Succeed. Thousand Oaks. CA: Sage.
Supanee IntnJan. (2555). Guideline for Cooperation Integration for Drug and Narcotics Prevention at the Areas of Bhuttamomton. Nakornpatom: Office of Higher Education Commission
Tani Chukamnerd (2543, September-December). LIL Model: Learning Innovation Process for Sustainable Development. MCU Journal of Social Sciences, 4(3). 185-194.
Tawan Trakarnrerk. (2558). Model of Efficiency Management for Drug Prevention and Suppression of the 7th Region Provincial Police (Doctor of Philosophy Thesis). Graduate School: Siam University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น