การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย บทละครเรื่องเงาะป่า สาหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทละครเรื่องเงาะป่าบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย บทละครเรื่องเงาะป่า สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 42) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทละครเรื่องเงาะป่าก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนนาคประสิทธิ์ จำนวน 45 คนที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายใช้เวลาในการทดลอง 8 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทละครเรื่อง เงาะป่า 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทละครเรื่องเงาะป่าก่อนและหลังเรียนและ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และค่าทดสอบสถิติ t-test dependent แบบไม่อิสระต่อกันและการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1) ค่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบทละครเรื่องเงาะป่า มีค่าเท่ากับ 81.15 /82.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมากที่สุด
References
Styles (Master of Education Thesis). Graduate School: Silpakorn University.
Department of Academics, Ministry of Education. (2544). Curriculum of Basic Education 2544. Bangkok: Express Delivery Organization.
Kidanant Malitong. (2543). Educational Technology and Innovation. Bangkok: Faculty of Education. Chulalongkorn University.
Luan Saiyud and Ankana Saiyud. (2538). Educational Research Technique. Bangkok: Suveeriyasarn.
Paranee Chotimanset. (2550). Development of Computer-Assisted Lesson entitled” Tripumpraruang, Uttarakurutaveep Section” for Elementary Students of Grade 4 (Master of Education Thesis). Graduate School: Silpakorn
University
Phrakhrupariyatsuwanrangsi (Choosak Phuwongsa). (2559). Development of Morality Enhancing Curriculum in The Asean Community Era Applying The Contemplative And Yoniso Manasikara Concepts for Primary Students Under The Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 1. MCU Journal of Social Sciences, 6(1), 41-52.
Pimnicha Prommanote. (2553). Development of Computer-Assisted Lesson entitled” Tripumpraruang, Manussapum Section” for Elementary Students of Grade 6 (Master of Education Thesis). Graduate School: Silpakorn University.
Saraprasert. (2502). Poem about Composing Klon. Klong and Chant. Bangkok: Government Saving Bank.
Somsak Ampornvisitsopa. (2548). Development of Computer-Assisted Lesson of Thai Language Group for Grade 6 Elementary Students entitled “Ramakien, Miyarab War Section (Master of Education Thesis). Graduate School: Silpakorn University.
Songrit Chimmote. (2553). Achievement Comparison between Six Hats and Normal Teaching Styles with Computer-Assisted Lessons (Master of Education Thesis) Graduate School: Silpakorn University.
Vajarapol Viboonyossarin. (2556). Innovation and Media for Teaching Thai Luanguage. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น