วิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีน ที่เรียนสาขาวิชาภาษาไทย ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน
คำสำคัญ:
ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทย นักศึกษาจีนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่เรียนสาขาวิชาภาษาไทย ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน โดยศึกษาข้อมูลจากการรวบรวมงานเขียนของนักศึกษาจีนที่เรียนสาขาวิชาภาษาไทย ในมหาวิทยาลัยของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน จานวน40 คน จากการทาแบบทดสอบคนละ 5 ชุดดังนี้ การเขียนเรียงความ การเขียนบรรยายภาพการแปลความจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย การแต่งประโยคจากคาที่กาหนดให้ และการเขียนตามคาบอก รวมงานเขียนทั้งหมด 200 ฉบับ ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่เรียนสาขาวิชาภาษาไทย ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีนและสาเหตุของข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาชาวจีนเรียนสาขาวิชาภาษาไทย ในมณฑลยูนนานประเทศจีน
ผลการวิจัยพบว่าข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่เรียนสาขาวิชาภาษาไทย ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีนมี 3 ประเด็นดังต่อไปนี้ 1.ข้อผิดพลาดในการเขียนสะกดคำมี 5 ลักษณะ ได้แก่ การเขียนพยัญชนะต้นผิด การเขียนสระผิด การเขียนพยัญชนะท้ายผิด การเขียนวรรณยุกต์ผิด และการเขียนตัวสะกดการันต์ผิด 2. ข้อผิดพลาดในการใช้คามี 6 ลักษณะได้แก่ การใช้คานามผิด การใช้คาสรรพนามผิด การใช้คากริยาผิด การใช้คาขยายผิด การใช้ค่าลักษณนามผิด และการใช้คาทับศัพท์ภาษาอังกฤษแทนคาไทย 3. ข้อผิดพลาดในการสร้างประโยคมี 9 ลักษณะ ได้แก่ การสร้างประโยคผิดโดยขาดคาที่จาเป็น การสร้างประโยคผิดโดยเพิ่มคาที่ไม่จาเป็น การสร้างประโยคผิดโดยการวางลาดับคาไม่ถูกต้อง การสร้างประโยคผิดโดยขาดตัวเชื่อมการสร้างประโยคผิดโดยใช้คาเชื่อมผิด การสร้างประโยคผิดโดยขาดคาลักษณนาม การสร้างประโยคผิดโดยไม่จบกระแสความ การสร้างประโยคผิดโดยไม่สื่อความและการสร้างประโยคผิดโดยใช้ลักษณะประโยคแบบภาษาแม่ ส่วนผลการวิเคราะห์สาเหตุของข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่เรียนสาขาวิชาภาษาไทย ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีนมี 8 ประเด็น ดังต่อไปนี้1. เขียนผิดเพราะออกเสียงผิด 2. เขียนผิดเพราะไม่รู้หลักภาษาไทย 3. เขียนผิดเพราะไม่เข้าใจ การใช้คา 4. เขียนผิดเพราะรู้คาศัพท์จากัด 5.เขียนผิดเพราะไม่เข้าใจการเขียนคาทับศัพท์ 6.เขียนผิดเพราะไม่เข้าใจระบบไวยากรณ์ไทย 7. เขียนผิดเพราะไม่เข้าใจการใช้ประโยค 8.เขียนผิด เพราะใช้รูปภาษาจีน
References
Kosai Sarikabut. (2550). Technique and Art of Teaching Thai Language to Impress Foreigners, Bankok: Srinakarinvirote University.
Jo Lichfield. (2546). Have fun with Chinese Language in Daily Life, Translated by Pavina (nickname). Bangkok: Suttisarn Printing
Tanee Chukamnerd. (2558, September-December) LIP Model: Learning Innovation for Sustainable Development. MUC Journal of Social Sciences 4(3).
Poonlaporn Artton. (2547). Analysis of Error and Cases of Thai Language Misspelling of Grade 1 Secondary Students. Normklao TriemudomSuksa (Master of Education Thesis). Srinakarintvirote University.
Piset Jiejanpong. (2528). Religion and Politics in Sukhothai City. Special Issue. Journal of Arts and Culture. Bangkok: Arts and Culture.
Sira Somnarm. (2550). Analysis of Error in Spelling of Students who Study Thai Language as a Second Language: A Case Study of Certificate Students of Thai Language for Communication 1 year from Vocational Institutes and Technology Sibsongpanna, Fareastern University (Research Report) at Fareastern University (Research Report). Far- Eastern University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น