การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการความรู้สำหรับสำนักงานศาลยุติธรรม: กรณีศึกษา ศาลยุติธรรมในเขตอำนาจของสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๔

ผู้แต่ง

  • เกษม ศุภสิทธิ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
  • ลิขิต ธีรเวคิน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

การพัฒนายุทธศาสตร์, การจัดการความรู้, สำนักงานศาลยุติธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสค์หลักในการวิจัย เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการความรู้สำหรับสำนักงานศาลยุติธรรม โดยกำหนดเป็นวัตถุประสงค์ย่อยในการวิจัย ประการแรก เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันแลสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการความรู้ของสำนักงานศาลยุติธรรม ประการที่สอง เพื่อศึกษาสภาพปัจจัยที่เกี่ยวข้องและเอื้อตการจัดการความรู้ของสำนักงานศาลยุติธรรม และประการที่สาม เพื่อจัดทำและตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ การจัดการความรู้ของสำนักงานศาลยุติธรรมผลการศึกษา สภาพป้จจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์สำหรับการจัดการความรู้สำหรับสำนักศาลยุติธรม พบว่า บุคลากรของสำนักศาลยุติธรรมเห็นว่ สภาพการจัดการความรู้ที่พึงประสงค์สูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกด้าน โดยสภาพปัจจุบันของการจัดการความรู้ที่มีการปฏิบัติระดับมากในทุกด้าน เรียงตามลำดับคือ ด้านการสร้างความรู้มากที่สุด รองลงมาเป็นด้านการจัดเก็บและบด้นความรู้ ด้านการแสวงหาความรู้ และด้านการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ ตามลำดับสภาพปัจจุบั แลสภาพที่พึงประสงค์สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องและเอื้อต่อการจัดการความรู้สำหรับสำนักงานศาลยุติธรรม พบว่า บุคลากรขอสำนักศาลยุติธรรมเห็นว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องและเอื้อต่อการจัดการความรู้ที่พึประสค์สูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกด้าน โดยสภาพปัจจุบันของปัจจัยที่เกี่ยวข้องและเอื้อต่อการจัดการความรู้ที่มีการปฏิบัติระดับมากในทุกด้านเรียงตามลำดับคือผู้บริหารศาลยุติธรรมมีความต้องการจำเป็นในด้านโครงสร้างพื้นฐานมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านการวัดและประเมินผล ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวัฒนธรรมองค์การ และภาวะผู้นำตามลำดับการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการความรู้สำหรับสำนักงานศาลยุติธรรม ประกอบไปด้วยยุทธศาสตร์ที่ ๑ จัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ในทุกระดับขององค์กร ยุทธศาสตร์ที่พัฒนาสำนักศาลยุติธรมในครือฯให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ส่งเสริมโครงสร้างการบริหาร ภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ยุทธศาสตร์ที่ ๔ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้ และยุทธศาสตร์ที่สร้างเครือข่ายภายในและภายนอกเพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้สำหรับข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย ประการแรกคือ สำนักงานศาลยุติธรรมควรมีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้การจัดการความรู้ของแต่ละสำนักศาลยุติธรรมได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ประการที่สอง ควรมีที่ปรึกษาที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้มาช่วยให้การแนะนำ เพื่อให้กรดำเนินกาได้เป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้องบรรลุเป้าหมายของการจัดการความรู้ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับสำนักศาลยุติธรรม ประการที่สาม ควรมีนโยบายในการส่งเสริมให้ผู้บริหารของสำน้ศาลยุติธรมได้เข้าร่วมอบรมในเรื่องการจัดการความรู้เพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจและเห็นประโยชน์ของการจัดการความรู้ ประการที่สี่ ควรมีนโยบายที่ส่งเสริมให้ สำนักศาลยุติธรมได้พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการดำเนินการจัดการความรู้ และประการสุดท้ายคือ สำนักศาลยุติธรรม ควรนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุคตใช้ในเรื่องการจัดการความรู้ให้ทั่วสำนักศาลยุติรรมโดยการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของความรู้ การจัดเก็บ การเผยแพร่ และการสืบค้น

References

น้ำทิพย์ วิภาวิน. การจัดการความรู้กับคลังความรู้. กรุงเทพมหานคร: เอสอาร์ พริ้นติ้ง แมสโปร
ดักส์, ๒๕๔๗.
บุญดี บุญญากิจ. การจัดการความจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเพิ่มผลผลิต
แห่งชาต, ๒๕๔๘.
ประพันธ์ ผาสุกยืด. การจัดการความรู้ : ฉบับขับเคลื่อน LO. กรุงเทพมหานคร : ใยไหม, ๒๕๕O.
พรธิดา วิเชียรปัญญา. การจัดการความรู้ : พื้นฐานและการประยุคตใช้. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา
ลาดพร้าว, ๒๕๔๘.
สำนักงานศาลยุติธรรม. แผนยุทธศสตร์การพัฒนข้าราชการศาลยุติธรรม. กรุงเทพมหานคระ
สำนักพิมพ์ศาลยุติธรรม, ๒๕๕๖.
(๒) วิทยานิพนธ์/รายงานวิจัย:
จุฑรัตน์ สราวรวงศ์ "การพัฒนาตัวแบบของกลยุทธ์การจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น".
วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญตุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาสารสนเทศศึกษาภาควิชา
สารสนเทศ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๕๒.
๒. ภาษาอังกฤษ
(I) Books:
Davenport and Prusak. Working Knowledge : New Organization Manage What
They Know. Boston : Harvard Business School Press, 1998.
Leitch and Rosen. Knowledge Management. New York : IDG Press, 2001.
Lewis Carroll In Liotta, P.H., Richmond M.Lloyd. Strategy and Force Planning 4t ed
Newport : RI Naval War College Press, 2004.
Moslehi, Adel. Proposing A Systemic View to Intellectual Capital Measurement.
IT and Financial Management Conference Tehran. University of Iran, 2004.
O'Dell and Grayson, C.J. If We only Know What We Know. New York: The Free
Press, 1998.
O'Dell, C. A Current Review of Knowledge Management Best Practices.
Conference on Knowledge Management And The Transfer of Best
Practices. Business intelligence, 1996.
Sallis, E. and Jones. G. Knowledge Management in Education. London : Kogan
page, 2002.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-08-20

How to Cite

ศุภสิทธิ์ เ., & ธีรเวคิน ล. (2016). การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการความรู้สำหรับสำนักงานศาลยุติธรรม: กรณีศึกษา ศาลยุติธรรมในเขตอำนาจของสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๔ . วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 153–164. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245450