การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, ชุมชนเข้มแข็ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง "การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี" มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาภูมิหลังของประชาชนที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๒) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลตการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชนเข้มแข็งของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และ ๓) ศึกษารูปแบบของปัจจัยที่เหมาะสมต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชนข้มแข็ง ของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อย่างยั่งยืนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามจำนวน ๔๐ ชุด โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาดร้อยล่ะ และ Multiple Regressionโดยวิธี Stepwise เพื่อหาปัจจัยที่ส่ผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชนเข้มแข็งของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีผลการศึกษาพบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับป้จจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านบทบาทในสังคมที่ตอบว่าเห็นด้วยอย่างยิ่งคื ท่านช่วยแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ร้อยละ๘๗.๘ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่ผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านความเชื่อถือศรัทธา ที่ตอบว่าเห็นด้วยอย่างยิ่ง คือ ท่นเชื่อว่านโยบายการสร้างชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล เป็นนโยบายที่สร้างความมั่นคงให้แก่ประชาชน ร้อยละ ๑๐๐ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านจิตสำนึกต่อการรักชุมชน ที่ตอบว่าเห็นด้วยอย่างยิ่งคื ท่นคิดว่าการทำให้ชุมชนเข้มแข็งตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล จะทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ ร้อยละ ๑๐๐ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่ผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านกระบวนการเรียนรู้การมีส่วนร่วม ที่ตอบว่าเห็นด้วยอย่างยิ่งคือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชนเข้มแข็งก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการทำแผนพัฒนาชุมชนที่มีศักยภาพ ร้อยละ ๙๖.๕ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลสำเร็การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชนเข้มแข็งของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ที่ตอบว่าเห็นด้วยอย่างยิ่งคือ เรื่อง ชุมชนมีความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันที่ดี ร้อยละ ๗๓.๕จากการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ภูมิหลังของประชาชน ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุชนเข้มแข็งของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี คือ เพศ อายุสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนเข้มแข็งของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้แก่ บทบาทในสังคม ความเชื่อถือศรัทธากระบวนการเรียนรู้การมีส่วนร่วม

References

กัลยา วาณิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SpSS for Windoพs. พิมพ์ครั้งที่ ๓.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์, ๒๕๔๖.
(๒) วารสาระ
สมบูรณ์ ธรรมลังค. "รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็น
ฐานในจังหวัดเชียราย". วารสารศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ ๑๕ ฉบับที่
๒ เมษายน -มิถุนายน ๒๕๕๖.
(m) วิทยานิพนธ์/รายงานวิจัย:
ดวงปี คาปาน. "การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทาแผนพัฒนาเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย
อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร". วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
ยุทธศาสตร์การพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. ๒๕๕๓.
ไพรชล ตันอุด. "การมีส่วนร่วมของผู้นและประชาชนในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งเมืองน่าอยู่ :
กรณีศึกษาเทศบาลเมือง เมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม". การค้นคว้า
อิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง, คณะ
รัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม. ๒๕๕๒.
นงนุช เครือศรี. "การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการประชาคมหมู่บ้านด้านพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานตำบลตลาดขวัญ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม". การค้นคว้า
แบบอิสระรัฐศสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม. ๒๕๕๒.
อัญฑิการ์ อาจวิชัยย. "การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลคำชะอี
อาเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร". วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
ยุทธศาสตร์การพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. ๒๕๕๓.
อาดิษฐ์ อินทจักร์. การมีส่วนร่มของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลเวียงพร้าว
อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาบาวิชา
การเมืองและการปกครอง, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม. ๒๕๕๒.
๒. ภาษาอังกฤษ
(I) Books:
Bloom, B.S. and Others. Handbook on Formative and Summative Evaluation of
Students Learning. New York : Mc Graw Hill, Inc, 1971.
Cohen, John M. and Uphoff, Norman T. Rural Development Participation :
Concepts and Measures for Project Design Implementation and
Evaluation. New York: the Rural Development Committee Center for
international studies, Cornell University, 1977.
Singhal, A. Facilitating Community Participation Through Communication For
Social Change. New Delhi: Sage, 2001.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-08-20

How to Cite

ชัยรุ่งเรือง ช. (2016). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี . วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 115–128. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245444