แนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสมของสถานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น กรณีศึกษา วัดคีรีวงศ์ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “แนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสมของสถานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น กรณีศึกษา วัดคีรีวงศ์ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้เทคนิควิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม เลือกพื้นวิจัยแบบเจาะจง เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสมของสถานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ประกอบ เจ้าอาวาส,คณะสงฆ์ คณะกรรมการวัด หัวหน้าสำนักงานจัดสรรประโยชน์ คณะครูโรงเรียนคีรีวงศ์วิทยา สำนักงานพระพุทธศาสนา ผู้นำท้องที่ โดยใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) การจัดประชุมแบบมีส่วนร่วม การอบรมเชิงปฏิบัติการ การสนทนากลุ่ม การเวทีประชาคม ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสมด้านการบริหารจัดการ มีดังนี้
๑. การศักยภาพในการบริหารจัดการที่เหมาะสมของสถานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น กรณีศึกษาวัดคีรีวงศ์ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ในแต่ละแห่งนั้น ควรจัดให้มีแนวทางในการดูแลรักษาสถานประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมทั้งตัวสถานประวัติศาสตร์และพื้นที่โดยรอบ ตลอดถึงการประเมินคุณค่าและศักยภาพของทรัพยากรทางโบราณคดีหรือสถานประวัติศาสตร์ ที่จะช่วยให้สามารถทราบว่าทรัพยากรทางประวัติศาสตร์นั้นมีคุณค่าทางด้านใดบ้าง หรือเหมาะแก่อนุรักษ์และพัฒนา ก็สามารถตัดสินใจและวางแผนว่าจะทำอย่างไรต่อไปจึงจะเกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อชุมชนและส่วนรวม
๒. การบริหารจัดการแนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสมของสถานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เน้นการบริหารและการจัดการโดยอาศัยหลักธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายคือการพัฒนาสถานประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืน ซึ่งจะมุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้ชุมชนเป็นผู้นำเสนอปัญหาและความต้องการของชุมชนเอง ต้องการสร้างความภาคภูมิใจแก่ประชาชนในท้องถิ่นด้วยการร้อยรวมเรื่องราวประวัติศาสตร์มาเหนี่ยวนำให้เกิดการรวมคน อีกทั้งยังมุ่งพัฒนาให้เป็น แหล่งท่องเที่ยว สร้างชุมชนให้เป็นหนึ่งเดียว ยึดเหนี่ยวคุณธรรม
การจัดเก็บและการจัดสรรผลประโยชน์ของวัดคีรีวงศ์ แนวทางการจัดเก็บและการจัดสรรผลประโยชน์ในอนาคต ควรให้คณะกรรมาการบริหารสถานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของวัคคีรีวงศ์เป็นผู้ดูแล รับผิดชอบ และชี้แจงยอดเงินรายรับรายจ่ายจากการท่องเที่ยวตามสถานประวัติศาสตร์ ให้กับสมาชิกในชุมชนได้ทราบเป็นระยะๆ อาจะ ๓ – ๖ เดือนต่อครั้งเพื่อความโปร่งใสในการทำงานและลดข้อกังขาสงสัยจากชุมชน
การติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน หากชุมชนมีการท่องเที่ยวเชิงศึกษาศาสนา และวัฒนธรรมอย่างมีรูปแบบที่ชัดเจน ควรให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการ และฝ่ายต่าง ๆ เกี่ยวข้องเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงาน
References
กาญจนา แก้วเทพ. การพัฒนาแนววัฒนธรรมชุมชนโดยถือมนุษย์เป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร : สามัคคีสาส์น. ๒๕๓๘.
กุลธร ธนาพงศธร. การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์สุโขทัย. ๒๕๓๘.
โฆษิต ปั้นเปียมรัษฎ์. การพัฒนาประเทศไทย: แนวคิดและทิศทาง. กรุงเทพมหานคร : มปพ. ๒๕๓๖.
จินตวีร์ เกษมศุข. การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๕๔.
ประเสริฐศักดิ์ บุตรสา. ความสอดคล้องของการจัดทำบริการสาธารณะกับความต้องการของประชาชน : กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลบ้าน เก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา. ๒๕๕๑.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. การบริหารพัฒนา: ความหมายเนื้อหา แนวทางและปัญหา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๔๔.
ประชุม รอดประเสริฐ. นโยบายและการวางแผน หลักการและทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร : เนติกุลการพิมพ์. ๒๕๓๙.
ปริญญาพนธ์ ปัญโญ. ทัศนะของประชาชนต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : วิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่. ๒๕๔๗.
นันทิยา อัศเจรีย์วัฒนา. คุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการร่วม : ประสบการณ์จากผู้รับบริการในสำนักงานเขตบางพลัด. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต . กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ๒๕๔๘.
วิโรจน์ สารรัตนะ. การบริหาร หลักการ ทฤษฎี ประเด็นทางการศึกษา และบทวิเคราะห์องค์การทางการศึกษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพมหานคร : ทิพย์วิสุทธิ์. ๒๕๔๕.
สมยศ นาวีการ. การบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ: สมหมายการพิมพ์. ๒๕๒๕.
สวัสดิ์ สุคนธรังสี. โมเดลการวิจัย, กรณีตัวอย่างทางการบริหาร. วารสารพัฒนา บริหารศาสตร์, ๒๕๒๐ : ๔๕ : ๒๐๖.
สายันต์ ไพรชาญจิตร(๒๕๔๘).กระบวนการโบราณคดีชุมชน: การวิจัยเชิงปฏิบัติการการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน.ภาควิชาพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม พลังท้องถิ่นแสความเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.) . ๒๕๔๖.
อุทัย ธรรมเตโช. หลักบริหาร. กรุงเทพมหานคร : เจ้าพระยาการพิมพ์. ๒๕๓๑.
DuBrin, A. J. Essentials of management. New York, NY: South Western College. 1994.
_______. Leadership: Research findings, practice, and skills. Boston: Houghton Mifflin. 1995.
Dessler, G. Management, principles and practices for tomorrow’s leaders. New Jersey: Pearson Education. 2004.
French, W. L., & Bell, C. H. Organizational development: Behavioral science interventions for organization improvement (4th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice- Hall International, 1990.
Kinichi, A., & Kreitner, R. Organizational behavior (5th ed.). Boston Burt Ridge, IL: McGraw Hill Irwin. 2003.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น