การศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมทางจริยธรรมในสังคมไทย จากงานวรรณกรรมของวิมล ไทรนิ่มนวล

ผู้แต่ง

  • กิตติวุฒิ ขุนทองจันทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

การศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมทางจริยธรรมในสังคมไทยจากงานวรรณกรรมของวิมล ไทรนิ่มนวล จำนวน ๔ เรื่อง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพอยู่ในกรอบของจริยธรรมในงานวรรณกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาจริยธรรมและจริยธรรมของสังคมไทยที่สะท้อนจากงานวรรณกรรมและเพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาจริยธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรม ๔ เรื่อง ได้แก่ งู คนทรงเจ้า จ้าวแผ่นดิน และโคกพระนาง ได้สะท้อนปัญหาสังคมไทยเชิงโครงสร้างและสะท้อนพฤติกรรมซึ่งเป็นปัญหาจริยธรรมของบุคคล สำหรับปัญหาสังคมไทยเชิงโครงสร้าง ประกอบด้วย ปัญหาความยากจน ปัญหาระบบความเชื่อ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหากระบวนการยุติธรรม และปัญหาการเมือง ส่วนพฤติกรรมซึ่งเป็นปัญหาจริยธรรมของบุคคล ประกอบด้วย พฤติกรรมความโลภอยากได้ พฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศ พฤติกรรมหน้าไหว้หลังหลอก และพฤติการณ์เสี่ยงโชคหรือเล่นการพนัน

ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ ทำให้ทราบว่าสังคมไทยมีปัญหาหลายด้านทั้งปัญหาในระดับโครงสร้างและพฤติกรรมซึ่งเป็นปัญหาจริยธรรมของบุคคล ซึ่งสมควรที่รัฐบาล ผู้รู้ หรือผู้เชี่ยวชาญต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาสังคมไทยทั้งระบบอย่างจริงจัง  เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่และมีความสงบสุขมากขึ้น

 

References

เดชา ซาภักดี. วิเคราะห์หลักจริยธรรมในวรรณคดีสุภาษิตพระร่วง. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจริยศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๕๔๒.
บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, หม่อมหลวง. วิเคราะห์รสวรรณคดีไทย. (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพมหานคร : ศยาม ๒๕๔๓.
ภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย, สมาคม. ๒๕ ปีซีไรต์ : รวมบทวิจารณ์คัดสรร. กรุงเทพมหานคร : สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ๒๕๔๗.
วิทย์ ศิวะศริยานนท์. (พิมพ์ครั้งที่ ๕). วรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร : ธรรมชาติ ๒๕๔1
วิมล ไทรนิ่มนวล. วิญญาณแห่งสายลมพัดพาฉันมา. กรุงเทพมหานคร : สยามประเทศ๒๕๔๕.
____________. คนทรงเจ้า. (พิมพ์ครั้งที่ ๗). กรุงเทพมหานคร : สามัญชน ๒๕๕๐.
____________. โคกพระนาง. (พิมพ์ครั้งที่ ๕). กรุงเทพมหานคร : สามัญชน ๒๕๕๐.
____________. จ้าวแผ่นดิน. (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพมหานคร : สามัญชน ๒๕๕๐.
____________. งู (พิมพ์ครั้งที่ ๙). กรุงเทพมหานคร : สามัญชน ๒๕๕๐.
สมพร มันตสูตร. วรรณกรรมและการเมือง. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์ ๒๕๒๔.
Dhammananda, K. Sri. Buddhism for the future. Taiwan : The Corporate Body of the Buddha Educational Foundation, 2000.
Phra Thepwisutthimethi (Nguam)., Bucknell, Roderick S. Buddha-Dhamma for students. [translated from the Thai by Ariyananda Bhikkhu (Roderick S. Bucknell)]. Bangkok : Dhamma Study & Practice Group, 1988.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-12-30

How to Cite

ขุนทองจันทร์ ก. (2014). การศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมทางจริยธรรมในสังคมไทย จากงานวรรณกรรมของวิมล ไทรนิ่มนวล. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 3(3), 197–208. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245390