ผลของกิจกรรมแนะแนวการปฏิบัติตนตามหลักสารณียธรรมที่มีผลต่อ การพัฒนาความสามัคคีของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อพัฒนากิจกรรมแนะแนวการปฏิบัติตนตามหลักสารณียธรรมที่มีต่อการพัฒนาความสามัคคี ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๒) เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมแนะแนวการปฏิบัติตนตามหลักสารณียธรรมที่มีต่อการพัฒนาความสามัคคีของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการจัดกิจกรรมแนะแนวฯ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา ๐๑๑๖๖๒๑๑ จิตวิทยาการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๖ หมู่ที่ ๑ จำนวน ๑๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ กิจกรรมแนะแนวการปฏิบัติตนตามหลักสารณียธรรมที่มีต่อการพัฒนาความสามัคคี แบบวัดความสามัคคี แบบบันทึกการเรียนรู้ของนิสิตที่มีต่อกิจกรรมแนะแนวฯ เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมการทดลองแต่ละครั้ง การบันทึกวิดีทัศน์สัมภาษณ์ความคิดเห็นความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อกิจกรรมแนะแนวฯ และต่อผู้วิจัย โดยผลการวิจัยพบว่า ๑. ได้กิจกรรมแนะแนวการปฏิบัติตนตามหลักสารณียธรรมที่มีต่อการพัฒนาความสามัคคีที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น และมีประสิทธิภาพและตรงตามเนื้อหา ๒. นิสิตกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวฯ มีคะแนนจากแบบวัดความสามัคคีภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ โดยนิสิตรายงานว่าได้มีการพัฒนาความสามัคคีของตนเองให้เพิ่มขึ้น และสามารถนำความสามัคคีที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก. ๒๕๕๑.
_____ . ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ ๓๐. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหธรรมิกจำกัด. ๒๕๔๗.
สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(ฉบับแก้ไข) (online). http://www.qa.ku.ac.th/Download/ku๒๖๐๕๒๕๕๔.pdf, ๗ สิงหาคม ๒๕๕๖.๒๕๕๔.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ ๑๑. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๕๕.
Dhammananda, K. Sri. Buddhism for the future. Taiwan : The Corporate Body of the Buddha Educational Foundation, 2000.
Phra Thepwisutthimethi (Nguam)., Bucknell, Roderick S. Buddha-Dhamma for students. [translated from the Thai by Ariyananda Bhikkhu (Roderick S. Bucknell)]. Bangkok : Dhamma Study & Practice Group, 1988.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น