การจัดทำแนวทางการอนุรักษ์ดนตรีตุ๊บเก่ง จังหวัดเพชรบูรณ์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของ ดนตรีตุ๊บเก่ง เพื่อศึกษาลักษณะของดนตรีตุ๊บเก่ง และเพื่อจัดทำแนวทางการอนุรักษ์ดนตรีตุ๊บเก่งเครื่องมือที่ช้ในการวิจัย คื แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบบันทึกข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม
และเครื่องมือที่ช้ประกบการเก็รวบรวมข้อมูล ได้แก่ เทปบันทึกเสียง เครื่องเล่นวีดิโอ เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม (focus group) และการสัมภาษณ์เชิงลึกผลการวิจัยพบว่า
๑. ดนตรีตุ๊บเก่งเกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ไม่มีหลักฐานปรากฎว่าคนตรีตุ๊บเก่ง เกิดขึ้นเมื่อใด จกการศึกษาประวัติศสตร์ท้องถิ่น ทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม และ ประเพณีราษฎร์และประเพณีหลวง อาจสรุปได้ว่ ดนตรีตุ๊บเก่งอาจเกิดจากการถ่ายเททาง วัฒนธรรมระหว่างประเพณีหลวงของสุโขทัยกับพชบูรณ์ ดนตรีตุ๊บก่งอาจจะได้รับอิทธิพลของการ แพร่กระจายทางวัฒนธรรม ที่ได้มาจากสุโขทัย คือ วงดนตรีมังคละ แล้วมีการปรับใช้และสร้างเครื่องดนตรีขึ้นมในรูปแบบของตนเอง นอกจากนี้ยังอาจได้รับอิทธิพลของภาคกลางที่ผ่านขึ้นมา ทางลำน้ำบำสัก และอิทธิพลการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมของดนตรีมังดละจังหวัดพิษณุโลก
๒. ชื่อวงดนตรีที่เรียกว่าตุ๊บก่งนั้น มีความสัมพันธ์กับเครื่องดนตรีที่ใช้ผสมอยู่ในวง ดนตรีด้วยกัน ๒ ชนิด คือ ตุ๊บ หมายถึงเสียงของกลองและเก่ง หมายถึง เสียงของฆ้องกระแต ซึ่ง เครื่องดนตรีทั้ง ๒ ชนิดนี้ มีกบาทสำคัญในวงดนตรีตุ๊บเก่งจึงได้นำมาตั้งเป็นชื่อวงดนตรี
๓. ลักษณะของดนตรีตุ๊บเก่ง ดนตรีตุ๊บเก่งจังหวัดเพชรบูรณ์ที่ปรากฏที่บ้านป้าแดง บ้าน ป้เลา และบ้านพลำ มีลักษณะที่คล้ายกัน คือ เครื่องดนตรี พิธีการไหว้ครู ส่วนสิ่งที่แตกต่าง กัน คือ เพลงที่ไช้บรรเลง และเครื่องคาย ซึ่งแต่ละวงอาจจะมีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับวงของตนเอง
๔. ดนตรีตุ๊บเก่งมีลักษณะทางดนตรีคล้ายกับวงดนตรีหลายประเภท วงดนตรีที่มี รูปแบและลักษณะคล้ยกับวงดนตรีตุ๊บเก่ง คือ วงปี่ไฉนกลองชนะ วงกลองแขก วงบัวลอย วงกาหลอ และวงมังคละ แต่ดนตรีตุ๊บก่งมีความคลึงกับดนตรีมังคละของจังหวัดพิษณุโลกมากที่สุด
๕. แนวทางการอนุรักษ์ดนตรีตุ๊บเก่ง ได้แก่
๑. การสังเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับดนตรีตุ๊บเก่ง เพื่อสร้างมาตรฐานของดนตรีตุ๊บเก่ง
๒. การมอบหมายให้รงเรียนนำดนตรีตุ๊บเก่งไปจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นหรือบรรจุคนตรีตับเก่งให้ป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในโรงเรียน
๓. การทำให้ดนตรีตุ๊บเก่งมีความทันสมัยมากขึ้น
๔ การเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อดนตรีตุ๊บเก่ง
๕. การประชาสัมพันธ์ดนตรีตุ๊บเก่ง
๖. องค์กรปกครองท้องถิ่นควรให้การสนับสนุนด้านงบประมาณสำหรับการทำกิจกรรมของวงดนตรีตุ๊บเก่ง
References
ณรุทธ์ สุทธจิตต์ สังคีตนิยม ความชาซึ่งในดนตรีตะวันตก. พิมพ์ครั้งที่ ๔ กรุงเทพ (ฉบับปรับปรุง) สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๔๖.
ประทีป นักปี. ตุ๊บเก่ง : ดนตรีพิธีกรมงนศพบ้านป้แดง จังหวัดเพชรบูรณ์ วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.๒๕๔๖.
ประป นัก. ตุ๊บเก่ง : ดนตรีพิธีกรมงานศพบ้านป้แดง จังหวัดเพชรบูรณ์ วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิตล ๒๕๔๕.
สมพร แพ่งพิพัฒน์. (ม.ป.ป) ดนตรีตุ๊บเก่ง. หนังสือสมบัติเมืองเพชรบูรณ์ เล่ม ๒. เพชรบูรณ์ : สถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์. ๒๕๔๐.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น