บทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม ในชุมชนเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๙

ผู้แต่ง

  • ชาญชัย ฮวดศรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

การส่งเสริม; คุณธรรมและจริยธรรม; บทบาทของพระสงฆ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (๑) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ที่ดําเนินกิจกรรมด้านส่งเสริม
คุณธรรมจริยธรรมในชุมชน (๒) เพื่อศึกษาขั้นตอนและวิธีการดําเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมคุณธรรม
จริยธรรม และ (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ พระสงฆ์ซึ่งดํารงตําแหน่งเจ้าอาวาสและเจ้าคณะตําบล ในเขตการ
ปกครองคณะสงฆ์ภาค ๙ จํานวน ๓๗๒ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณ
ค่า (Rating scale) และแบบคําถามปลายเปิด (Open-ended) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่
ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
๑. บทบาทการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในสถาบันครอบครัว พบว่า พระสงฆ์มีบทบาทโดยได้
มีการดําเนินการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยระงับความขัดแย้งของคนในครอบครัวในชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด
๒. บทบาทการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในสถาบันการเมืองการปกครอง พบว่าพระสงฆ์มีการ
ช่วยเหลืองานของทางราชการ ด้านการปกครอง การสงเคราะห์ประชาชน และการรักษาความปลอดภัย
ของชาติ

๓. บทบาทการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในสถาบันศาสนา พบว่า พระสงฆ์มีบทบาท ในการ
สร้างความรู้สึกที่ดีโดยการออกบิณฑบาตทุกเช้าและรับกิจนิมนต์ไปทําบุญบ้านของญาติโยม
๔. บทบาทการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในสถาบันการศึกษา พบว่า พระสงฆ์มีบทบาท โดย
การเป็นพระสอนศีลธรรมในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
๕. บทบาทการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในสถาบันเศรษฐกิจ พบว่า พระสงฆ์ให้ที่พักอาศัยแก่
นักเรียน นิสิตนักศึกษาต่างท้องที่ที่มาศึกษาเล่าเรียน การให้ที่พักอาศัยแก่บุคคลที่มารักษาศีล และให้เช่า
ที่ดินในราคาถูกให้แก่ประชาชนที่ขัดสนปลูกที่อยู่อาศัย อยู่ในระดับมากที่สุด
๖. บทบาทการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในสถาบันนันทนาการ พบว่า พระสงฆ์มีบทบาทโดย
การเขียนบทความเผยแผ่ทางหนังสือพิมพ์การเรียบเรียงหนังสือธรรมะเผยแพร่
๗. แนวทางในการแก้ไขปัญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมในชุมชน ได้แก่ สถาบันทางสังคมต่างๆ
ควรมีการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลายในด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้มากขึ้น พระสงฆ์ผู้ปกครอง
และผู้นําชุมชนต้องเป็นตัวอย่างที่ดีมีการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาคเอกชนและภาครัฐบาลอย่างจริงจัง
และสื่อมวลชนควรนําเสนออย่างมีความรับผิดชอบต่อจิตสํานึก จารีตประเพณีและวัฒนธรรมไทย

References

พรชุลี อาชวะอํารุง และคณะ. การศึกษาทบทวนโครงการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน, กระทรวงวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, ๒๕๔๙.
พระมหากฤษฎา นันทเพชร. “ทัศนคติของพระสงฆ์ตอบทบาทการพ ่ ัฒนาสังคม”. วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิตคณะพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ๒๕๔๐.
พระมหาโยธิน ละมูล. “บทบาทพระสงฆ์ในฐานะทรัพยากรมนุษย์และนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์”วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ๒๕๔๕.
รายงานสรุปผลการดําเนินงานโครงการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ปีงบประมาณ ๒๕๔๙ : หน้า ๕.
วิโรจน์ ธาระพุฒิ. “ศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมด้านการพัฒนาจริยธรรมของพระธรรมวิทยากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะหศาสตรมหา บัณฑิต. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๔.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2012-12-30

How to Cite

ฮวดศรี ช. . (2012). บทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม ในชุมชนเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๙. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 1(3), 83–92. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245200