การจัดการความรู้ของชุมชนอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ชวาลา ละวาทิน มหาวิทยาลัยราชภัฏไวลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, ชุมชน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ดั้งเดิมที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนและศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ของชุมชนอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากชุมชนในสามตำบลได้แก่ ตำบลคลองสาม ตำบลคลองห้า และตำบลคลองหก ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 17 คน เก็บรวมรวบข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกต การบันทึกภาพและวีดิโอและเวทีประชาคม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตรวจสอบแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ดั้งเดิมที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของทั้งสามตำบลมีดังนี้ 1) ตำบลคลองสามคือ ตะกร้าสาน การทอเสื่อ การดองหน่อไม้ และระหัดวิดน้ำ 2) ตำบลคลองห้าคือ หมี่กรอบส้มซ่า และการทำน้ำพริก 3) ตำบลคลองหกคือ เครื่องจักสาน งานหัตถกรรมสีทอง กระยาสารทน้ำอ้อย ขนมต้มสามสี และข้าวเกรียบเห็ดสมุนไพร ส่วนรูปแบบการจัดการความรู้ของชุมชนมีรูปแบบดังนี้ 1) การกำหนดความรู้ 2) การแสวงหาความรู้ 3) การแลกเปลี่ยนความรู้ 4) การจัดเก็บความรู้ และ 5) การถ่ายทอดความรู้

References

กนกพร ฉิมพลี. (2555). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานภูมิปัญญาท้องถิ่น.

กองพัฒนาคุณภาพ. (2552). การจัดการความรู้ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ฐาปนี เลขาพันธ์และจุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์. (2558). การจัดการความรู้ด้านสมุนไพรการศึกษา กลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 8(1), 12-25.

ประเวศ วะสี. (2530). การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยเพื่อการพัฒนา. วารสารชุมชนพัฒนา, 1(5),75-78.

พนารัตน์ เดชกุลทอง. (2560). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าไหมบ้านนาเสียว ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. เพชรบูรณ์: การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 4 วันที่ 10 มีนาคม 2560.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. สืบค้น 18 สิงหาคม 2562, จาก http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/SummaryPlan11_thai.pdf

อภิชาติ ใจอารีย์. (2557). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการแปรรูปหน่อไม้ของชุมชนบ้านพุเตย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการเมืองการปกครอง, 4(2), 241-258.

อรอุมา มูลวัตร. (2551). การจัดการความรู้ชุมชนของกลุ่มแม่บ้าน กรณีศึกษา กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองระดับ 4 ดาว จังหวัดเลย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เอกชัย พุมดวง. (2558). กลยุทธ์การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน ตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ: การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53 วันที่ 3-6 กุมภาพันธ์ 2558.

Marquardt, M.J. (1997). Building the learning organization: System approach to quantum improvement and global success. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-20

How to Cite

ละวาทิน ช. (2021). การจัดการความรู้ของชุมชนอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(1), 28–39. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245185