การจัดการความรู้ตามแนวพุทธธรรมในโรงเรียนจังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • พระปลัดสมบัติ ฐิติญาโณ นิสิตปริญญาเอก หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, พุทธธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การจัดการความรู้ตามแนวพุทธธรรมในโรงเรียนจังหวัด นครสวรรค์” โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการจัดการความรู้ตามแนวพุทธธรรม ในโรงเรียนจังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาการจัดการความรู้ในโรงเรียนจังหวัด นครสวรรค์ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการความรู้ตามแนวพุทธธรรมในโรงเรียนจังหวัดนครสวรรค์โดย กําหนดระเบียบวิธีวิจัยเชิงเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารมีการ นําหลักธรรมไปปฏิบัติได้จริงในการจัดการความรู้ในโรงเรียนจังหวัดนครสวรรค์ หลักการสําคัญต่อ การสร้างความรู้สู่องค์กร โดยใช้หลัก สุ. การรับฟัง จิ, จินตนาการ ป. ปุจฉา ล.เขียน หลักการ สังคายนา การวิเคราะห์และคัดแยกความรู้เป็นกลุ่มประเด็นให้ง่ายต่อการเข้าถึงอย่างมีขั้นตอน การ ประมวลและกลั่นกรองความรู้ หลัก ๔ ส. การเผยแผ่ แนะนํา สั่งสอน อบรมบุคลากร ชี้แจง ชวน ใจ แกล้วกล้า ร่าเริง หลักกาลามสูตร ๑๐ ประการส่วนสภาพปัญหาประกอบด้วย ๕ ปัญหาหลัก ได้แก่ ผู้บริหารการจัดการความรู้ ๒.ทัศนคติความคิดและพฤติกรรมบุคลากร ๓. การบูรณาการ ทางการศึกษาของโรงเรียน ๔.วัฒนธรรมการจัดการความรู้ ๕.แผนการจัดการความรู้ ได้แก่ ขาด การทํางานทีม การประสานงานยุ่งยาก การบริหารเวลา งบประมาณไม่เพียงพอ และเทคโนโยลี ทางการสื่อสาร และ แนวทางการจัดการความรู้ตามหลักพุทธธรรมในโรงเรียนจังหวัดนครสวรรค์ ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริหารจะต้องสร้างแบบที่ดีในการบริหาร รวมถึงการจัดการความรู้ในโรงเรียน จังหวัดนครสวรรค์ จะเป็นต้นแบบได้ดี เพราะสังคมย่อมจับตามองถึงพฤติกรรมกระทําทุกกิริยาบถ ของผู้บริหารโรงเรียน ดังนั้นทิศทางการจัดการความรู้และบูรณาการแบบองค์รวม องค์กร บุคลากร สถานศึกษา การจัดการ ให้เชื่อมโยงกับภารกิจ ๔ ด้าน ได้แก่ ผู้บริหารการจัดการความรู้ ทัศนคติ ความคิดและพฤติกรรมบุคลากร การบูรณาการทางการศึกษาของโรงเรียน แผนการจัดการความรู้ วัฒนธรรมการจัดการความรู้ ในการส่งเสริมการบริหารทั้ง ๔ ด้าน จะให้เกิดการปฏิบัติหน้าที่ อย่างสมบูรณ์ที่สุดด้วยการจัดการความรู้ เป็นกําลังใจบุคลากรในองค์กร การให้อภัย มีความ รอบคอบ รับผิดชอบ เป็นกําลังใจให้แก่บุคลากร และไม่ปกป้องคนชั่ว แต่ต้องช่วยเหลือคนดี เป็นต้น

References

๑. ภาษาไทย
(๑) หนังสือ
พรธิดา วิเชียรปัญญา, การจัดการความรู้พื้นฐานและการประยุกต์ใช้ กรุงเทพมหานคร เอ็กซ์ เปอร์เน็ท. ๒๕๔๗.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต), พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมมิก จํากัด, ๒๕๔๙.
(๒) วิทยานิพนธ์
เจษฎา นกน้อย “การจัดการความหลากหลายในองค์กร : ตัวแบบทางด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อความเท่าเทียมกันของผู้มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศ” วิทยานิพนธ์รัฐ ประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. คณะรัฐประศาสนศาสตร์: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์. ๒๕๕๒.
บรรจง เจริญสุข “การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตจังหวัดภาคใต้ตอนบน” ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคําแหง, ๒๕๕๒.
พรทิพย์ อุสุรัตน์ และนิยะนันท์ สําเภาเงิน. “การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม กรณี ปฏิบัติการลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง หัวใจ และ เบาหวาน ต.หันคา อ.หันคา จ.ชัยนาท”, เอกสารประกอบการประชุมวิชาการโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ปีที่ ๓/๒๕๕๒. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ๒๕๕๒.
พระสราวุฒย์ ปญญาวุฑโฒ วิจิตรปัญญา “การปฏิรูประบบวรรณะสู่ระบบ สังฆะในพระพุทธศาสนา” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต พระพุทธศาสนา บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๕๖.
พีรสิทธิ์ คํานวณศิลป์และคณะ. “การประเมินนโยบายและแผนงานด้านสุขภาพขอผู้สูงอายุกระทรวงสาธารณสุข” รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, ๒๕๕๑.
วงเพชร คงจันทร์. “การแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่ปรากฏในคัมภีร์” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, การพัฒนาองค์กรและ บุคลากรแนวคิดใหม่ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, กรุงเทพมหานคร : ๒๑ เซ็นจูรี่, ๒๕๕๗.
สินสมุทร บุตรภักดี, “การพัฒนาคุณธรรมของบุคลากรทางการศึกษาด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, ๒๕๕๔.
สุปรียา ธีรศิรานนท์ “การศึกษาวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนาเถรวาท” พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต พระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๕๖.
อ้อมทิพย์ เมฆรักษาวานิช และคณะ “รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ชุดโครงการ :สื่อสารเพื่อชุมชน : บทบาทการสื่อสารการเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้หญิงในการปกครองส่วนท้องถิ่น” สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. ๒๕๔๗.
๒. ภาษาอังกฤษ
(1) Book
Cockerill, Coreen H. “Exploring the vested interest perspective as it applies to public involvement in watershed management planning : lessonsfrom an Ohio watershed". Doctor of Philosophy, Ohio State
University, Agricultural Economics and Rural Sociology, 2006.
Lyman W. Porter and Edwarad E. Lawler III. Managerial Attitudes and Perfomance, Homewood, III. Dorsey Press, 1968.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-04-15

How to Cite

ฐิติญาโณ พ. (2015). การจัดการความรู้ตามแนวพุทธธรรมในโรงเรียนจังหวัดนครสวรรค์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(1), 221–237. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245124