การศึกษาเปรียบเทียบความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน ของหลักทรัพย์ กลุ่มธุรกิจ พลังงานและสาธารณูปโภค โดยใช้แบบจําลอง CAPM: กรณีศึกษา ESSO, PTT SOLAR, TOP, BANPU ua: GLOW
คำสำคัญ:
หลักทรัพย์หมวดพลังงาน, อัตราผลตอบแทน, ความเสี่ยง, ค่าเบต้า, แบบจำลองการกำหนดราคาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน ของหลักทรัพย์กลุ่มธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค กับความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนของตลาด และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง ภายใต้แบบจําลอง CAPM กับอัตรา ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงของหลักทรัพย์กลุ่มธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค โดยใช้ข้อมูลของ หลักทรัพย์ที่อยู่ในกลุ่มทรัพยากร หมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นข้อมูลแบบรายวันตั้งแต่ วันที่ 6 มกราคม ๒๕๕๔ ถึง ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ รวม ๔๔๙ วันทําการและหลักทรัพย์ที่ใช้ในการวิจัยจํานวน 5 หลักทรัพย์ ได้แก่ ESSO - บริษัท เอสโซ่ จํากัด (มหาชน), PT - บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ,SOLAR : บริษัท โซลาร์ตรอน จํากัด (มหาชน), TOP - บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน) , BANPU - บริษัท บ้านปู จํากัด (มหาชน) และGLOW : บริษัท โกลว์ พลังงาน จํากัด (มหาชน)จากการศึกษาพบว่าในช่วงระยะเวลาที่ได้ทําการศึกษานี้มีหลักทรัพย์เพียง ๓ หลักทรัพย์ ที่ราคาหลักทรัพย์ในตลาดมีราคาต่ํากว่าความเป็นจริง (Undervalue) นั้นคือ GLOW และมีถึง ๕ หลักทรัพย์ที่ราคาหลักทรัพย์ในตลาดมีราคาสูงกว่าความเป็นจริง(Overvalue) ได้แก่ ESSO, PTT, SOLAR, TOP Wax BANPU
References
คมกฤษณ์ สูจรังสี. “การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของหลักทรัพย์กลุ่มสื่อสาร”[ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://thaiejournal.com/journal/2555volumes 4/21Kittiyaphon.pdf learมีนาคม ๒๕๕๖
ชมพูนุท จิตนาวสาร และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ “ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ. ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ (ตุลาคม-ธันวาคม๒๕๕๕)
ธีระ สัมประเสริฐและกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ, “การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในหลักทรัพย์หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค โดยใช้ตัวแบบจําลองการ กําหนดราคาหลักทรัพย์ " วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ. ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ (ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๕).
วิไลวรรณ ตาริชกุล และพูนศักดิ์ แสงสันต์, “รูปแบบจําลอง CAPM การศึกษาเปรียบเทียบความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์กลุ่มธนาคาร” วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคําแหง, ๒๕๕๓
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น