การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสถาบันสงฆ์ในสังคมไทย
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การเมือง, สถาบันสงฆ์, สงัคมไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสถาบันสงฆ์ใน สังคมไทย และเพื่อศึกษาหลักพระธรรมวินัย กฎหมายคณะสงฆ์ และกฎมหาเถรสมาคมที่มี ความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพระสงฆ์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย พระสงฆ์ พระสังฆาธิการ และประชาชนทั่วไป ครอบคลุมพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรทั้ง 5 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างภาค ละ 300 รวม รวมทั้งสิ้น 1500 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ผู้วิจัยได้ดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรม excel 2007 เพื่อหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า พระสงฆ์ พระสังฆาธิการและประชาชนทั่วไปมีความเห็นว่า พระสงฆ์หรือสถาบันสงฆ์ไม่ ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะการเมืองมิใช่กิจของสงฆ์ แต่สามารถมีส่วนร่วมทางการเมือง อย่างสร้างสรรค์ เช่น การส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข และการอบรมสั่งสอนประชาชนเกี่ยวกับหลักประชาธิปไตย
References
กองบรรณาธิการเอเอสทีวี - ผู้จัดการ, 10 วิกฤตชาติ 52. กรุงเทพมหานคร: บ้านพระอาทิตย์,
2552 จาตุรนต์ ฉายแสง, ความจริงวิกฤตประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพมหานคร:บริษัท เอ.อาร์. อินฟอร์เมชั่น แอนด์ พับลิเคชั่น จํากัด, 2552
คนัย ไชยโยธา, การเมืองและการปกครองของไทย. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์โอเดียนสโตร์,2548.
ทินพันธุ์ นาคะตะ, พระพุทธศาสนากับสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานครหจก.สหายบล็อก และการพิมพ์, 2544.
ธนา นวลปลอด. “ความคิดทางการเมืองในสุตตันตปิฎก” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2536.
นรี ภวกานดานันท์, การเมืองการปกครองในแนวพุทธศาสนา วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2558.
นิธิ เอียวศรีวงศ์, พระพุทธศาสนาในความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย. กรุงเทพฯมูลนิธิโกมลคีมทอง, 2548
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล, ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม.พิมพ์ครั้งที่ 3กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2548
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) ธรรมกับการพัฒนาชีวิต กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม , 2539,(online)http://www.watsamcong.com ramma3.htm
พระสุตตันตปิฎก เล่ม 20 หน้า 186 , เล่ม 11 หน้า 231 (online) http://wwาย.rattanront.com/tammal stru ยุคอนารยะ, ทางออกประเทศไทยในภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ไว้ลาย, 2553.
ลิขิต ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย.พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพฯ :สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2550
วิชัย ตันศิริ, วิกฤติการเมือง 2549-2550. ปทุมธานี, สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต,2550.
วินัย ทับทอง. “อิทธิพลของพระสงฆ์ต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง.” วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๕. วุฒินันท์ กันทะเตียน. พระสงฆ์กับการเมือง: แนวคิดและบทบาทในสังคมไทยปัจจุบันวิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2541.
ศรัณย์ เลิศรักษ์มงคล, พระสงฆ์กับการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ การเมือง, (ออนไลน์),http://www.vcharkarn.com/vblog'113376/1 Wed 7 July 2010, 9:34 pm ศูนย์ข้อมูลมติชน. มติชนบันทึกประเทศไทยปี 2552. กรุงเทพมหานคร: มติชน, 2553
มติชนบันทึกประเทศไทยปี 2553. กรุงเทพมหานคร : มติชน, 2554 สนิท สมัครการ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาการของสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2546.
สมบัติ ธํารงธัญวงศ์, การเมือง : แนวความคิดและการพัฒนาเพิมพ์ครั้งที่ 12 กรุงเทพฯ :เสมาธรรม, 2545.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก,ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม, (สั่ง ณ วันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2538 ) ข่าวสดรายวันวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7059 (culite) ชม.khaosod.co.th สุรพศ ทวีศักดิ์ ความคิดทางจริยธรรมกับการเลือกฝ่ายทางการเมืองของพระสงฆ์ในสังคมไทยปัจจุบัน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2552, หน้า 93.
สุรวิชช์ วีรวรรณ, วิวาทวาทกรรมเหลือง-แดง. กรุงเทพฯ: บ้านพระอาทิตย์, 2553.
อัญญดา แก้วกองกูล, การศึกษาเปรียบเทียบ : การประยุกต์ใช้หลักธรรมทางศาสนาในทางการเมืองตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุและมหาตมะ คานธี วิทยานิพนธ์ หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาศาสนาเปรียบเทียบมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2547
เอนก เหล่าธรรมทัศน์ สองนคราประชาธิปไตย, พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. 2552
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น