การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
การบริหารงานบุคคล, โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคล และเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ต่อสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคล โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย จําแนกตามตําแหน่งและระดับ การศึกษาสามัญ ในขอบข่ายงานบุคคล 5 ด้าน คือ ๑) การสรรหาบุคคล ๒) การพัฒนาบุคลากร ๓) การประเมินผลงาน ๔) การให้ค่าตอบแทน ๕) การธํารงรักษา ๖) การให้พ้นจากงาน ประชากรที่ใช้ ในการศึกษา ได้แก่ผู้บริหารและครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย มี จํานวนทั้งหมด ๒๘๒รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นแบบสอบถามมี ๓ ลักษณะ คือ ๑) แบบสํารวจรายการ (Check Lists ) ๒) แบบมาตราส่วนประมาณค่า ( Rating Scale ) ๓) แบบสอบถามปลายเปิด (Open Ended ) มีความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๙๗ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ โปรแกรมสําเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยของประชากร (X ) และ ความเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร ( SD ) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่า (t-test) และการ วิเคราะห์แบบสอบถามปลายเปิดใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วมีความสร้างข้อสรุป และค่าความถี่
ผลการวิจัยพบว่า
๑. สภาพการบริหารงานบุคคลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ต.๗๖) เมื่อพิจารณา รายด้านพบว่า สภาพด้านการพัฒนาบุคลากรมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (๓.๔๑) และสภาพด้านการให้ ค่าตอบแทนมีค่าเฉลี่ยน้อยสุด (๓.๖๕)
๒. ปัญหาการบริหารงานบุคคลโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (๓.๔๓) เมื่อ พิจารณารายด้านพบว่า ปัญหาด้านการสรรหาบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (๓.๔๗) และปัญหาการให้ ค่าตอบแทนมีค่าเฉลี่ยน้อยสุด (๓.๓๘)
๓. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูสภาพการบริหารงานบุคคล จําแนกตามคุณลักษณะทั่วไปพบว่า
๓.๑ ตําแหน่งของผู้บริหารและครูที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการ บริหารงานบุคคลโดยรวมไม่แตกต่างกัน
๓.๒ ระดับการศึกษาสามัญของผู้บริหารและครูที่ต่างกัน มีความคิดเห็น ต่อสภาพการบริหารงานบุคคลโดยรวมไม่แตกต่างกัน
๔. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อปัญหาการบริหารงาน บุคคล จําแนกตามคุณลักษณะทั่วไปพบว่า
๔.๑ ตําแหน่งของผู้บริหารและครูที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัญหาการ บริหารงานบุคคลโดยรวมไม่แตกต่างกัน
๔.๒ ระดับการศึกษาสามัญของผู้บริหารและครูที่ต่างกัน มีความคิดเห็น ต่อปัญหาการบริหารงานบุคคลโดยรวมไม่แตกต่างกัน
๕. ข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาสรุปคือ ๑) การสรรหาบุคลากรควรมีการวางแผน ในการสรรหาบุคลากร และกําหนดตําแหน่งงานให้ชัดเจน ๒) การพัฒนาบุคลากร ควรมีการวางแผน ในการพัฒนาบุคลากร และให้ความสําคัญต่อการพัฒนาบุคลากร ๓) การประเมินผลงานควรมีการ กําหนดกฎเกณฑ์ในการประเมินผลงานให้ชัดเจน ๔) การให้ค่าตอบแทน ควรให้ความสําคัญต่อการ ให้สิ่งตอบแทนแก่บุคลากร ๕) การธํารงรักษา ควรให้ความสําคัญต่อการธํารงรักษาบุคลากร 5) การ ให้พ้นจากงาน ควรมีการกําหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้ชัดเจน และมีมาตรฐานแบบเดียวกัน
References
(๑) หนังสือ
กมล รอดคล้าย. สภาพปัญหาการจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๓๒.
กองศาสนศึกษา กรมการศาสนา, ประวัติการศึกษาคณสงฆ์ไทย. กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา, ๒๕๒๗.
พระภราดร สุขากุล. การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สังกัดสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กลุ่มที่ ๑๒. กรุงเทพมหานคร, ๒๕๔๗.
(๒) วิทยานิพนธ์
พิชชาวริน ชนะคุ้ม. การประเมินผลการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร, ปริญญานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต นโยบาย สาธารณะ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๕๔.
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๑๑. เอกสารสรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา.ม.ป.ท. อัดสําเนา, ๒๕๔๕.
สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา รายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบที่ ๒ ระหว่าง ๒๕๔๙- ๒๕๕๑ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ ศึกษา จังหวัดเชียงราย, ๒๕๕๑.
๒. ภาษาอังกฤษ
(1) Book Ivancevich, John M. Human Resource Management. 9 th. ed., U.S.A : Richard D.Irwin, Inc, 2004.
Flippo, Edwin B. Principle of Personnel Management. New York: McGraw - Hill, 1984.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น