รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการดําเนินงานของเทศบาลตําบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
รูปแบบ, ประสิทธิภาพ, ประสิทธิผลการดำเนินงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการดําเนินงานของเทศบาล ตําบล (๒) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดําเนินงานของ เทศบาลตําบล (๓) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดําเนินงานของเทศบาล ตําบล และ (๔) เพื่อสร้างรูปแบบและยืนยันรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการดําเนินงานของ เทศบาลตําบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เทศบาลตําบลใน เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จํานวน ๔๐๐ แห่ง การกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้เกณฑ์ ๒๐ หน่วย ต่อ ๑ ตัวแปร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ส่วนผู้ให้ข้อมูลเป็น ตัวแทนเทศบาล จํานวนแห่ง ละ 5 คน ได้แก่ ตัวแทนผู้บริหาร ตัวแทนสมาชิกสภาเทศบาล ตัวแทนปลัดเทศบาล ตัวแทน ผู้อํานวยการกองคลัง ตัวแทนผู้อํานวยการกองช่าง และตัวแทนภาคประชาชน รวมเป็น ๒,๔๐๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย (๑) แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ และแบบสอบถามตามเกณฑ์รูบริค (Rubric Scale) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์อิทธิพลเส้นทาง (Path Analysis) และ (๒) การสัมภาษณ์เชิง ลึก ประชากรเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ จํานวน ๑๐ คน โดยการเลือกแบบ เฉพาะเจาะจง และทําการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การยืนยันรูปแบบด้วยวิธีการ ยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญ (Expertise Verified) จํานวน ๒๔ คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น
ผลการวิจัย พบว่า ๑. ระดับประสิทธิผลการดําเนินงานของเทศบาลตําบลในเขตภาคตะวันออกเฉียง เหนือ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลําดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ มุมมองด้านประชาชน มุมมองด้านการเงิน มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต และมุมมองด้าน กระบวนการภายใน ตามลําดับ
๒. ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดําเนินงานของเทศบาลตําบล ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า อยู่ในระดับมาก จํานวน ๔ ประเด็น และอยู่ในระดับปาน กลาง ๑๒ ประเด็น เรียงลําดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ สมรรถนะด้านลักษณะงาน สมรรถนะ หลัก การมุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การพัฒนาอาชีพ การมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้ตาม วัฒนธรรมการทํางานเน้นพันธกิจ การสนับสนุนจากพรรคการเมืองระดับชาติแรงกดดันจาก การเมืองภาคประชาชน การพัฒนาของพนักงาน การฝึกอบรม ความสามารถกระตุ้นผู้ตามด้วย สติปัญญา วัฒนธรรมการทํางานเน้นการมีส่วนร่วม การพัฒนาองค์การ การศึกษา ความสามารถ สร้างแรงบันดาลใจ และวัฒนธรรมการทํางานเน้นการปรับตัว ตามลําดับ
๓. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดําเนินงานของเทศบาลตําบลในเขตภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ การฝึกอบรม (๐.๓๓) การสนับสนุนจากพรรคการเมืองระดับชาติ (0.๓๒) การมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้ตาม (0.๒๔) การมุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (0.๒๑) แรงกดดันจากการเมืองภาคประชาชน (๐.๑๕) การพัฒนาของพนักงาน (๐.๐๕) และวัฒนธรรมการ ทํางานเน้นการมีส่วนร่วม (0.00) สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการดําเนินงานของเทศบาลตําบลได้ ร้อยละ ๕๕๖๐ (R = 0.556, p-value < .05) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ซึ่งรูปแบบ ความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดําเนินงานของเทศบาลตําบลมี ความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x = 30.68, df = 22, p-value = 0.10284, GFI = 0.99, AGFI = 0.99, RMSEA = 0.01, RMR = 0.0061, CN = 3151.372)
๔. รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการดําเนินงานของเทศบาลตําบลในเขตภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย (๑) การพัฒนาการสนับสนุนจากการเมืองระดับชาติ และ (๒) การเพิ่มแรงกดดันทางการเมืองจากภาคประชาชน ซึ่งทั้งสองประการมุ่งเน้นการส่งเสริมและผลักดัน ในเรื่อง การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร การพัฒนาภาวะผู้นําของผู้บริหารท้องถิ่น การพัฒนา ความเป็นเอกภาพของบุคลากร และการพัฒนาวัฒนธรรมการทํางานเน้นการมีส่วนร่วม
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น