การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษาตามแนวไตรสิกขา

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา หล่อตระกูล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การพัฒนาสมรรถนะ, บุคลากรทางการศึกษา, ไตรสิกขา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรทาง การศึกษา โดยนําหลักพุทธธรรมมาบูรณาการกับการพัฒนา ตามหลักสมรรถนะหลัก ๕ ด้านคือ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ จริยธรรม ความร่วมแรง ร่วมใจ และตามหลักไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรเป็นกระบวนการ เพิ่มพูนความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรทั้งในด้านความคิดเห็นที่มีต่องานและผลของ การปฏิบัติงานของบุคลากรให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมโดยพัฒนาในแต่ละด้านขององค์ประกอบของ สมรรถนะการพัฒนาแบ่งเป็น ๒ ลักษณะใหญ่ๆ คือ ส่งเสริมคุณวุฒิ ด้วยการส่งไปศึกษาต่อ และการ เสริมสมรรถภาพด้วยการจัดฝึกอบรม การศึกษาดูงาน ซึ่งมีทั้งแนวคิดการจัดการฝึกอบรมอย่างเป็น ระบบ แนวคิดการพัฒนาบุคคลและฝึกอบรม ทั้งนี้การพัฒนาบุคคลจะครอบคลุม ๓ เรื่อง คือการ ฝึกอบรม การศึกษา และการพัฒนา การพัฒนาคนให้เป็นคนดีมีความสุข และเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ มีคุณภาพ การพัฒนานั้นก็คือการศึกษา ในทางพุทธศาสนาก็คือ ไตรสิกขา ซึ่งเป็นการฝึกอบรมหรือ พัฒนาตน อันประกอบด้วย ศีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา หรือเป็นการปฏิบัติฝึกหัดอบรม ตนด้วยหลักศีล สมาธิ ปัญญานั้นเอง

References

๑. ภาษาไทย
(๑) หนังสือ
กรมวิชาการ. คู่มือการสร้างค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และวินัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. ๒๕๔๑.
ชูชัย สมิทธิไกร. การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐.
ฐีระ ประวาลพฤกษ์, การพัฒนาบุคลากรและการฝึกอบรม. ตําราเอกสารวิชาการ ฉบับที่ 4. กรุงเทพมหานคร: หน่วยศึกษานิเทศก์สํานักงานสภาสถาบันราชภัฏ, ๒๕๓๘.
ธารพรรษ สัตยารักษ์ หลักการและมุมมองจากมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, ๒๕๕๘.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต), การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๓๙.
เพระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๒.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, เอกสารวิชาการการประเมินผลการจัดการศึกษา กรุงเทพมหานคร: สํานักประเมินผลการจัดการศึกษา, ๒๕๔๖.
สุภาพร พิศาลบุตรและยงยุทธ เกษสาคร. การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม. พิมพ์ครั้งที่ ๕ กรุงเทพมหานคร: BK อินเตอร์พรินท์จํากัด, ๒๕๔๔. สุมน อมรวิวัฒน์, การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๐.
สุรพล สุยะพรหมและคณะ, พื้นฐานการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕.
(๒) วารสาร
สมศรี เพชรโชติ, การนํากลยุทธ์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาใช้ในประเทศไทย, บทความในวารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ปีที่ 9 ฉบับที่ ๑ ตุลาคม ธันวาคม ๒๕๕๘.
(๓) วิทยานิพนธ์
คนึงนิจ อนุโรจน์, ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กองทัพอากาศ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคําแหง. ๒๕๕๑.
๒. ภาษาอังกฤษ
(1) Book
McFarland, Management: Foundation & Practices, 5thed, New York : Macmillan Publishing Inc, 1979.
McGowrty and Meuse. The Team Developer. New York: Branford and Bigelow, 2001.
Peter Drucker. What Makes an Effective Executive. Harvard Business Review, 2004.
Reddin, William J. Managerial Effectiveness. New York: McGraw-Hill, 1970.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-04-15

How to Cite

หล่อตระกูล อ. . (2015). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษาตามแนวไตรสิกขา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(1), 48–64. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245048