การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การอนุรักษ์กว๊านพะเยา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนการสอน, คิดแก้ปัญหา, กว๊านพะเยาบทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบ ทดลองใช้รูปแบบและ ศึกษาระดับความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 25 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติแบบไม่มีอิสระและการพรรณนาข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. เป็นการจัดการศึกษามุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ และคุณธรรม ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “B 4P SPC Model ” มี 8 ขั้น คือ 1) นำเสนอสถานการณ์ 2) ระบุปัญหา 3) ทำความเข้าใจ 4) นำเสนอแนวทาง 5) เลือกแนวทาง 6) เลือก 1 แนวทาง 7) นำเสนอวิธีการและจัดทำแผนปฏิบัติการ 8) การสรุปผลและประเมินผล รูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมระดับมาก (= 4.45,S.D.=0.16) ค่าประสิทธิภาพ ( E1/ E2) ของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 84.19/83.61 3. การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 13.60 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 24.52 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และผลการเรียนรู้ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 14.92 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 24.96 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ.01 4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.61, S.D.=0.01)
References
เจันทร์ทิพย์ มีแสงพันธ์. (2563). การพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการสตีมผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุพรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(2), 209-222.
พิณทิพย์ วิจิตรกลางและสุวิมล กฤชคฤหาสน์. (2563). การเปรียบเทียบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชันกับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวังม่วงวิทยาคม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 233-243.
พีชญาณ์ พานะกิจ. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โรงเรียนเทศบาล 4 (ภูมินทร์ราษฎร์นุกูล). (2560).รายงานการประเมินตนเองโรงเรียนเทศบาล 4 (ภูมินทร์ราษฎร์ นุกูล). พะเยา: โรงเรียนเทศบาล 4 (ภูมินทร์ราษฎร์นุกูล).
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 10). นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริพร เอมสวัสดิ์และสุวิมล กฤชคฤหาสน์. (2563). การศึกษาการจัดเรียนการสอนแบบแนะให้รู้คิดร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง อสมการ ที่มีต่อทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมฐานบินกำแพงแสน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 186-197.
ศิริลักษณ์ ตรีสินธุ์. (2555). การพัฒนารูปแบบคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหกรรม.วารสาร ศึกษาศาสตร์, 36(4), 72-79.
สิริภรณ์ สุริวงษ์และคณะ. (2563). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ และการเรียนรู้จากบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 59-68.
สุวิทย์ มูลคํา. (2551). ครบเครื่องเรื่องการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัดภาพพิมพ์.
อำพล พาจรทิศ. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนโรงเรียน นายร้อยพระจุลจอมเกล้า (ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Kruse, K. (2008). Introduction to Instructional Desing and the ADDIE Modle. Retrieved November 29, 2015, from http://www.e-learningguru.com /articles/art21
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น