มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการรับรองและคุ้มครองสิทธิคนพิการ เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่หรือการทำงานให้แก่นายจ้าง
คำสำคัญ:
มาตรการทางกฎหมาย, การรับรองและคุ้มครองสิทธิคนพิการ, การปฏิบัติหน้าที่หรือการ ทำงานให้แก่นายจ้างบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาถึงประวัติความเป็นมา แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนโดยมุ่งเน้นถึงสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองคนพิการ และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสภาพปัญหา การบังคับใช้กฎหมาย อุปสรรค จุดแข็งและจุดอ่อนของ
มาตรการทางกฎหมายของไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของคนพิการเพื่อรับบุคคลเข้าทำงาน การคุ้มครองการประกอบอาชีพของคนพิการรวมถึงข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการรับรองและคุ้มครองสิทธิคนพิการอันเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่และการทำงานให้แก่นายจ้างทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายที่มีความเหมาะสม เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการรับรองและคุ้มครองสิทธิคน
พิการอันเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่และการทำงานให้แก่นายจ้าง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในการทำการศึกษาและวิเคราะห์เป็นอย่างยิ่ง วิธีดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตด้านเนื้อหาและประชากรกลุ่มตัวอย่าง
ผลการวิจัยพบว่า แนวทางแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ ทางหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมศักยภาพ (empowerment) และสนับสนุน (encouragement) ให้คนพิการพึ่งตนเองได้ นอกจากนี้ สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ควรจัดทำโครงการรณรงค์ต่อต้านกฎหมายจำกัดสิทธิของคนพิการเพื่อให้สื่อมวลชนได้ช่วยประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมของกฎหมาย และควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการพ.ศ. ๒๕๓๔ เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพ และสนับสนุนให้คนพิการสามารถพึ่งตนเองได้ ควรยกเลิกประกาศกรมประชาสงเคราะห์ เรื่อง กำหนดลักษณะของงานที่คนพิการสามารถทำได้ และควรแก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบ ข้อบังคับของรัฐวิสาหกิจที่มีถ้อยคำที่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมอย่างชัดแจ้งหรือมีถ้อยคำที่เปิดโอกาสให้ใช้ดุลพินิจ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้กฎหมายเกี่ยวกับการทำงานของคนพิการของไทยมีมาตรฐานเทียบเท่าสากลต่อไป
References
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๖๑ ก, (๒๗ กันยายน ๒๕๕๐) : ๖๕.
สมหมาย ปาริจฉัตต์. บทความเรื่องเปิดแผนแม่บทสิทธิมนุษยชนไทย, มติชนรายสัปดาห์.(๗ สิงหาคม ๒๕๔๓) : ๓๒.
สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. เอกสารประกอบการพิจารณา : สภานิติบัญญัติ แห่งชาติ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://library2.parliament.go.th/giventake/content_nla/2550_154.pdf [๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๖].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น