การศึกษาเปรียบเทียบความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ กลุ่มกองทุน รวมอสังหาริมทรัพย์โดยใช้แบบจำลองตั้งราคาหลักทรัพย์ CAPM
คำสำคัญ:
กลุ่มกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์, ค่าสัมประสิทธิ์เบต้า, ความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเสี่ยงและอัตรา ผลตอบแทนที่ได้รับของหลักทรัพย์กลุ่มกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กับความเสี่ยงและอัตราผลตอบที่ ได้รับของตลาดและ ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังกับอัตราผลตอบที่ต้องการ
ของหลักทรัพย์กลุ่มกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ โดยใช้แบบจำลอง CAPM ซึ่งมีหลักทรัพย์ใน การศึกษา คือ หลักทรัพย์กลุ่มกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศ ไทยจำนวน ๕ หลักทรัพย์ ได้แก่ ๑) กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ฟิวเจอร์พาร์ค :
FUTUREPF ๒) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์แบบมีกรรมสิทธิ์ ๑๐๑ มนตรี : MONTRI ๓) กองทุนรวม สิทธิ์การเช่าอสังหาริมทรัพย์ควอลิตี้ฮอสพิทอลลิตี้: QHOP ๔.) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทคอน : TFUND และ ๕.)กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดุสิตธานี : DTCPF
สรุปผลการศึกษาพบว่า ในด้านอัตราผลตอบแทน เมื่อเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์กลุ่มกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กับอัตราผลตอบแทนของตลาด หลักทรัพย์ที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าตลาด มีเพียงหลักทรัพย์เดียว คือ FUTUREPF ขณะที่หลักทรัพย์ที่มีอัตราผลตอบแทนต่ำกว่าตลาด มีจำนวน ๔หลักทรัพย์ ได้แก่ QHOP, DTCPF, MONTRI และTFUND ในด้านความเสี่ยงกลับพบว่าทุกหลักทรัพย์มีความเสี่ยงต่ำกว่าตลาด และจากการศึกษาค่าสัมประสิทธิ์เบต้า สามารถจำแนกออกได้ เป็น ๒ กลุ่มคือ หลักทรัพย์ที่มีค่าสัมประสิทธิ์เบต้าน้อยกว่า ๑ แต่มากกว่า ๐ หรือมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก มีจำนวน ๔ หลักทรัพย์ ได้แก่ DTCPF, FUTUREPF, TFUND และ QHOP กล่าวคือหลักทรัพย์ดังกล่าวมีความเสี่ยงน้อยกว่าตลาดซึ่งแสดงว่าผลตอบแทนของหลักทรัพย์นั้น มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกับผลตอบแทนของตลาดในสัดส่วนที่น้อยกว่า กล่าวได้ว่าเป็นหลักทรัพย์เชิงรับ (Defensive Stock) และหลักทรัพย์ที่มีที่มีสัมประสิทธิ์น้อยกว่า ๐ หรือมีความสัมพันธ์ในเชิงลบ มีเพียงหลักทรัพย์เดียว คือ MONTRI ซึ่งหลักทรัพย์ดังกล่าวจะให้อัตรา
ผลตอบแทนสวนทางกับการไหวของอัตราผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์กลุ่มกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่มีอัตราผลตอบแทนที่ต้องการมากกว่าผลอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังมี ๓ หลักทรัพย์ คือ FUTUREPF, QHOP และ TFUND โดยหลักทรัพย์เหล่านี้มีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็นมี
ค่า Undervalued มีความเหมาะสมและคุ้มค่าแก่การลงทุน
References
กิตติยาพร คชาอนันต์ และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. “การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง จากการลงทุนในหลักทรัพย์กลุ่มธนาคารพาณิชย์โดยใช้ทฤษฎีการตั้งราคาหลักทรัพย์ (CAPM)”. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรังสิต,
๒๕๕๕.
จิรัตน์ สังข์แก้ว. การลงทุน. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มาหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,๒๕๔๕.
วิไลพรรณ ตาริชกุล. “รูปแบบจำลอง CAPM การศึกษาเปรียบเทียบความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์กลุ่มธนาคาร”. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมาหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๕๑.
ศศิธร กาญจนาประเสริฐและกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. “การศึกษาเปรียบเทียบความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยใช้แบบจำลองCAPM” วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรังสิต,
๒๕๕๕.
สิริวรรณ โฉมจำรูญ. หลักและนโยบายการลงทุน. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : ทีพีเอ็น เพรส,๒๕๔๘.
สุพจน์ สกุลแก้ว. การวิเคราะห์งบการลงทุน. กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท, ๒๕๕๓.
เซ็ทสมาร์ทดอทคอม. ดัชนีราคาปิดแต่ละวันของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยข้อมูลออนไลน์www.setsmart.com / ๒๕๕๕ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน, ๒๕๕๒.
Weera Weerakhajornsak, Kittiphun Khongsawatkiat, And faculty (๒๐๐๘). “Asset Pricing in Energy Sector: The Evidence from Stock Exchange of Thailand.” The First National Conference on Graduate Research for Business Management ๒๐๐๘.
May ๒๙, ๒๐๐๘. University of the Thai Chamber of Commerce.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น