สมรรถนะเชิงวิชาชีพของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ ชาวนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นฤมล ช่างศรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เกียรติ แสงอรุณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

สมรรถนะเชิงวิชาชีพ, นักศึกษาครูคณิตศาสตร์, กรอบสมรรถนะครูเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสมรรถนะเชิงวิชาชีพของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการวิจัยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาครูคณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคกลาง ที่ผ่านการฝึกปฏิบัติการสอนในโรงเรียนเป็นระยะเวลา  1 ปีการศึกษา จำนวน 44 คน ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินสมรรถนะตนเองตามกรอบสมรรถนะครูเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะด้านที่ 1 สมรรถนะที่จำเป็นด้านความรู้และเข้าใจในสิ่งที่สอน อยู่ในระดับผู้ฝึกหัดหรือกลุ่มเป้าหมายพึ่งเริ่มต้นทำสิ่งนี้ แต่จำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มเติม มีค่าเฉลี่ย 2.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.65 สมรรถนะด้านที่ 2 สมรรถนะที่จำเป็นด้านการช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ อยู่ในระดับผู้ฝึกหัดหรือกลุ่มเป้าหมายพึ่งเริ่มต้นทำสิ่งนี้ แต่จำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มเติม โดยมีค่าเฉลี่ย 2.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69 สมรรถนะด้านที่ 3 สมรรถนะที่จำเป็นด้านการให้ชุมชนมีส่วนร่วม อยู่ในระดับผู้ฝึกหัดหรือกลุ่มเป้าหมายพึ่งเริ่มต้นทำสิ่งนี้ แต่จำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มเติม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.81 และสมรรถนะด้านที่ 4 สมรรถนะที่จำเป็นด้านการพัฒนาตนเองให้เป็นครูที่ดีขึ้นในทุกๆ วัน อยู่ระดับผู้ปฏิบัติหรือทำสิ่งนี้ได้ดีแล้ว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.64 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.72

References

คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2559). รายงานการพิจารณาศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายมาตรฐานวิชาชีพครูและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

________. (2560). รายงานการพิจารณาศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่อง ระบบการผลิตและพัฒนาครู. กรุงเทพฯ: สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

ฉัตรชัย หวังมีจงมีและองอาจ นัยพัฒน์. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 : ปรับการเรียน เปลี่ยนสมรรถนะ. Journal of HR intelligence, 12(2), 47-63.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. ขอนแก่น : เพ็ญพรินติ้ง

________. (2559). แนวทางการพัฒนาระบบมาตรฐานวิชาชีพครูและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู[วีดิทัศน์]. กรุงเทพฯ:คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). รายงานผลการศึกษาสถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.

Darling & Hammond, L. (2000). Futures of Teaching American Education. Journal of Educational Change, 1, 353–373.

Fuller, F., & Brown, O. (1975). Becoming a Teacher. In K. Ryan (Ed.), Teacher Education: Seventy-Fourth Yearbook of the National Society for the Study of Education. Chicago: University of Chicago Press

Gelman, R., & Greeno, J. G. (1989). On the nature of competence: Principles for understanding in a domain. In Resnick L. B. (Ed.), Knowing, learning, and instruction: Essays in honor of Robert Glaser (pp. 125–186). Lawrence Erlbaum Associates: Inc.

OECD. (2012). Education at a Glance 2012. OECD Indicators: OECD Publishing.

Teachers’ Council of Thailand. (2018). Southeast Asia Teachers Competency Framework (SEA-TCF). Bangkok: Teachers' Council of Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22

How to Cite

ชาวนา ศ., อินทร์ประสิทธิ์ ไ., ช่างศรี น., & แสงอรุณ เ. (2020). สมรรถนะเชิงวิชาชีพของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(4), 1–13. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/244898