การควบคุมและการบังคับบัญชาองค์กรสงฆ์ไทย
คำสำคัญ:
การควบคุม; การบังคับบัญชา; องค์กรสงฆ์ไทยบทคัดย่อ
คำว่า “สงฆ์” แปลว่า หมู่ หรือชุมชน โดยหมู่หรือชุมชนที่จะเป็นสงฆ์ ก็คือหมู่หรือชุมชมที่มีการจัดตั้งวางระเบียบเป็นอย่างดี มีอุดมคติมีจุดมุ่งหมายว่า จะอยู่ร่วมกันด้วยความสงบ เพื่อประพฤติปฏิบัติกระทำสิ่งที่ดีงาม ดังที่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ก็คือชุมชนที่อยู่ร่วมกัน เพื่อเจริญไตรสิกขา เพื่อจะได้ฝึกฝนตนให้เจริญงอกงามขึ้นในศีล สมาธิ ปัญญา หรือความหมายของสงฆ์ หรือพระสงฆ์ในพระรัตนตรัยนั้น ก็คือ หมู่ชนผู้ปฏิบัติตามมรรค และผู้สำเร็จผลซึ่งผู้ศรัทธามั่นใจว่าเป็นหมู่ชน หรือสังคมอันประเสริฐที่ควรสร้างสรรค์ให้เกิดมีขึ้น ซึ่งคนสามารถมีส่วนร่วมได้ ด้วยการปฏิบัติตามมรรคและการสำเร็จผลนั้นเริ่มต้นด้วยการปฏิบัติตามลักษณะแบบอย่างที่ปรากฏภายนอกคือวินัย ความสามัคคีและความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ความเป็นกัลยาณมิตรก็ดี การมีโยนิโสมนสิการก็ดี การปฏิบัติตามมรรคก็ดี จะเจริญงอกงามได้ผลดีในสังคมที่ดำเนินตามคติแห่งสงฆ์นี้ แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ตรัสว่า “พระองค์ทรงเคารพพระธรรม และเมื่อพระสงฆ์ (ที่พระองค์ทรงตั้งขึ้น) เจริญใหญ่ขึ้น ก็ทรงเคารพด้วย” คือทรงให้ความสำคัญกับส่วนรวม ถือส่วนรวมเป็นใหญ่ มุ่งที่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ การได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาให้อยู่คู่กับชาติไทยตลอดไป
References
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). นิติศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมิก จำกัด,๒๕๓๙.
พระธรรมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม), ธรรมบทวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : ไทยรายวัน, ๒๕๓๐.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๗.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖.
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินฺทปญฺโญ). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และกฎมหาเถรสมาคม.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๑.
สมบูรณ์ สุขสำราญ. พุทธศาสนากับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม. กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๗.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานปกครองคณะสงฆ์. พิมพ์ครั้งที่ ๖.กรุงเทพมหานคร : สามมิตร, ๒๕๑๕, หน้า ๑๖.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น