การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์สู่ความเป็นเลิศ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
คำสำคัญ:
วิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์, ความเป็นเลิศ, การบริหารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและพัฒนาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหาร
จัดการงานวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์สู่ความเป็นเลิศ และความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหาร
งานวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์สู่ความเป็นเลิศของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มี 5
ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเป็นแนวทางในการวิจัย ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการ
บริหารงานวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ขั้นตอนที่ 3 ดาเนินการพัฒนา
รูปแบบการบริหารจัดการสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi
Technique) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานวิจัยนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์
อาชีวศึกษา จำนวน 19 คน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสิ่งประดิษฐ์
อาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating
Scale) โดยกลุ่มตัวอย่างจานวน 265 คน และขั้นตอนที่ 5 รายงานผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารงานวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์สู่ความเป็นเลิศของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ 1) โครงสร้างการบริหาร 2) กลยุทธ์ด้านการบริหาร 3) นักวิจัย 4) ระบบการจัดการนวัตกรรม และ 5) คุณค่าร่วม
2. รูปแบบการบริหารงานวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์สู่ความเป็นเลิศ ต้องมีประเด็นสำคัญขององค์ประกอบ ดังนี้ 1) โครงสร้างการบริหารงานวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ ควรแบ่งเป็นระดับ อาชีวศึกษาจังหวัด ระดับภาค และระดับชาติ องค์ประกอบ 2) สถานศึกษาจัดทำแผนปฏิบัติงาน กลยุทธ์ พันธกิจ มุ่งสู่ความเป็นเลิศของงานวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
3)นักวิจัยมีความใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา 4) การออกแบบระบบงานด้านกระบวนการนวัตกรรม มุ่งเน้นการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง และ 5) สถานศึกษาปลูกฝังให้บุคลากรทุกคนรู้สึกมีส่วนร่วมกันเป็นเจ้าของในผลงานวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของสถานศึกษา 3. รูปแบบการบริหารงานวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์สู่ความเป็นเลิศ มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
References
เบญจนารถ อมรประสิทธิ์, และคณะ. กรกฎาคม– กันยายน, 2558).รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.17 (3)
ดวงเดือน ภูตยานันท์และคณะ.(พฤษภาคม – สิงหาคม 2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.21(2) : 367-373
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. 2560 : ออนไลน์ วิสัยทัศน์และพันธกิจ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. แหล่งข้อมูล h ttp://www.vec.go.th/th-
พันธุ์อาจ ชัยรัตน์. (2558). ความหมายของนวัตกรรม. รางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทยครั้งที่ 15.รายงาน ประจำปี : 5
พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์.(2558). สารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. รายงานประจำปี สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.
สมนึก เอื้อจิระพงศ์พันธ์. (2552) การจัดการความรู้กับนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร : สามสุดา. : 45-50
สุพจน์ หารหนองบัว. (2558). นวัตกรรม. รางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทยครั้งที่ 15 : 5
ตรีทิพย์ บุญแย้ม. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมระดับปัจจเจกบุคคลและระดับกลุ่มงานเพื่อสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ในบริษัทเอกชนของ
ไทย.ปริญญานิพนธ์. สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ราตรี ศรีไพรวรรณ และ พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. กรกฎาคม-ธันวาคม 2556. การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสู่ ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 3 (2)
วีระพงศ์ แพสุวรรณ. (2558). นวัตกรรม.รางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทยครั้งที่ 15 .รายงานประจำปี: 4
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น