การพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2
คำสำคัญ:
การพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศ / การประกันคุณภาพภายในบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวิธีดาเนินการวิจัย 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 การกาหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยกับ ประชากร ได้แก่เอกสาร ตารา บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จานวน 75 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการศึกษา ค้นคว้า หลักการแนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จากเอกสาร ตารา บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นที่ 2 การออกแบบ สร้าง และพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้วยการสังเคราะห์ระหว่าง โครงสร้างของงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กับผังชุดคาสั่ง 4 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้แก่ การรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผล และการจัดเก็บข้อมูล โดยใช้ภาษา PHP และระบบจัดการฐานข้อมูล My SQL จากนั้นจึงนาไปประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของโปรแกรมสารสนเทศกับประชากร ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เลือกกลุ่มตัวอย่าง จานวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ผังชุดคาสั่ง/โครงสร้างของโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2) แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของโปรแกรม การเก็บรวบรวมข้อมูล นาแบบประเมินให้ – เก็บกลับคืน นาข้อมูลกลับมาวิเคราะห์ และปรับปรุงโปรแกรม การวิเคราะห์ข้อมูล ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นที่ 3 การหา ประสิทธิภาพโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษากับ ประชากร ซึ่งเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จานวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ 1) โปรแกรมสารสนเทศ เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2) แบบประเมินประสิทธิภาพการทดสอบโปรแกรม การรวบรวมข้อมูล โดยการนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ให้ ทดสอบ และตอบแบบประเมินประสิทธิภาพการทดสอบโปรแกรม การวิเคราะห์ข้อมูล ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นที่ 4 การทดลองใช้โปรแกรมสารสนเทศเพื่อการ ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ประชากร กับผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ครูประจำชั้น และครูผู้สอน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 และกลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 โรงเรียน จานวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ 1) โปรแกรม สารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 2) แบบประเมินประสิทธิภาพการทดลองใช้โปรแกรม การรวบรวม ข้อมูล นำโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ให้กลุ่มตัวอย่างทดลองใช้ และตอบแบบประเมินผลการใช้โปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
ขั้นที่ 1 ผลจากการกาหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยได้ มาตรฐานและตัวบ่งชี้การประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา จำแนกเป็น 5 ด้าน 15 มาตรฐาน 65 ตัวบ่งชี้ ขั้นที่ 2 ผลการออกแบบ สร้าง และพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษาได้นามาตรฐานและตัวบ่งชี้ ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยนาผังชุดคาสั่ง สังเคราะห์กับโครงสร้างโปรแกรม 4 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผล และการจัดเก็บข้อมูล จึงได้เป็นโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา ผลการวิจัยพบว่า มีความเหมาะสมและเป็นไปได้อยู่ในระดับดีมาก( C = 4.64, S.D.= 0.46) ความเหมาะสมและเป็นไปได้รายด้านเรียงลาดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการรักษาความ ปลอดภัยของโปรแกรม( C =4.80, S.D.= 0.45) การทางานของโปรแกรม( C = 4.65, S.D.= 0.41) และด้านการใช้งานโปรแกรม( C = 4.56, S.D.= 0.49) ขั้นที่ 3 ผลการหาประสิทธิภาพการทดสอบโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้ให้ข้อเสนอแนะ ดังเช่น การเพิ่มรายละเอียดของความน่าสนใจหน้าเว็บเพจ การออกแบบหน้าจอเพื่อป้อนข้อมูลแต่ ละรายการมีรูปแบบและลักษณะเหมาะแก่การใช้งานของผู้ใช้โปรแกรม ขนาดตัวอักษร ให้เพิ่มขนาด ตัวอักษร ขั้นที่ 4 ผลการหาประสิทธิภาพโดยการทดลองใช้โปรแกรมสารสนเทศเพื่อการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 พบว่า มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมาก( C = 4.79, S.D.= 0.40) ประสิทธิภาพรายด้านเรียงลาดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการทางานของโปรแกรม( C = 4.85, S.D.= 0.36) ด้านการรักษาความปลอดภัย ของโปรแกรม( C =4.81, S.D.= 0.39) และด้านการใช้งานโปรแกรม( C = 4.75, S.D.= 0.42)
References
Boone, Edgar J. (1992). Developing programmer in aducation. New Jersey: Prentice Hall.
Burch, John G. and Fillz R. Strater. Information System Theory and Prentice. New York : Wiley and Sons.
Chachaponwanich Padchong and Preecha Vihokto. (2013). The Development of Information Program for Schools under the Chiang Rai Primary Educational Service Office. Doctor of Philosophy Program in Educational Administration, Western University
Chaipoj Rakngam. (2008). The Development of Information Systems for internal quality assurance in Educational Service Area. Doctor of Philosophy Program in Educational Administration, Burapha University
Jansuda Bhudtarachad and Preecha Vihokto. (2013). The Development of Model on Internal Quality Assurance Institutions under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1. Doctor of Philosophy Program in Educational Administration, Western University
Ministry of Education. National Education Act A.D.1999 and Amendments (2nd edition A.D.2002). Bangkok. Express Transportation Organization of Thailand., 2003
National Education Commission (2002 a). National Education Act A.D.2099 Revised (2nd edition), A.D.2002. Bangkok: PRIG WARN GRAPHIC.
Office of the Basic Education Commission. (2011). Continuing education quality development, The ministerial regulation, criteria and methods of quality assurance in education A.D. 2012. First Edition. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand; LTD.
The Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). (2001). Criteria for Education Quality Assessment for External assessment of basic education. Bangkok. The Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization).
The Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). (2003).Announce of the Office of National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). Subject: being an external evaluator of basic education by endorsing the graduates. (Brochure). Bangkok.
Tipawan Lekawattana. (2010). The Development of an Internal Quality Assurance Model for Basic Educational Schools Using a Benchmarking Approach. Doctor of Philosophy Program in Educational Research and Evaluation, Naresuan University
Wichai Charoenpratamdee and Preecha Vihokto. (2013). Development of a Model Based on the Internal Assessment in Schools under the Office of Maehongson Primary Educational Service Area 1. Doctor of Philosophy Program in Educational Administration, Western University
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น