การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในการบริหารงานวิชาการ ด้านการวิจัยเพื่อ พัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8

ผู้แต่ง

  • วรรณภา งอกนาวัง
  • ปรีชา วิหคโต

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ / การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนา รูปแบบการจัดการความรู้ในการบริหารงานวิชาการ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาใน สถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 โดยมี วิธีดาเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การกาหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในการบริหารงาน วิชาการ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 ขั้นตอนที่ 3 การสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ในการบริหารงาน วิชาการ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ในการบริหารงาน วิชาการ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เอกสารตาราและงานวิจัยที่ เกี่ยวกับพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในบริหารงานวิชาการ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ การศึกษาการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 29 โรงเรียน กลุ่มประชากรจานวน 290 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษาและ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการวิจัย จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูลการ focus group discussion และแบบ ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์

ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในการ บริหารงานวิชาการ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา พบว่าจากข้อมูล พื้นฐานในหน่วยงานสถานศึกษาแบ่งความรับผิดชอบเป็นกลุ่มสาระที่มีหน้าที่ด้านการจัดการความรู้ จัดการรับผิดชอบเป็นระบบภายในจากโครงสร้างตามขนาดของโรงเรียนระดับผู้บริหารระดับสูง (ผู้อานวยการ รองผู้อานวยการ) ระดับกลาง (หัวหน้ากลุ่มสาระ หัวหน้ากลุ่มงาน) และระดับล่าง (หัวหน้าเวรตามมอบหมาย) ยังไม่มีการจัดระบบการจัดการความรู้ด้านงานวิจัยเป็นเพียงการนางาน ด้านการจัดการความรู้เช่น การเก็บข้อมูลไว้ตามงานต่างๆ เช่น งานประกันคุณภาพคุณภาพ งาน กิจการพัฒนาผู้เรียน งานนโยบายและแผน และงานวิจัยและพัฒนาคิดเป็นถึงร้อยละ 79.01 นอกจากนี้ผู้รับผิดชอบงานด้านการจัดการความรู้ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรที่มีอายุอยู่สูงกว่า 45 ปีคิด เป็นร้อยละ 44.41 และมีประสบการณ์ทางานด้านการจัดการความรู้มาเพียง 1-3 ปีคิดเป็นร้อยละ 51.85 ซึ่งตำแหน่งในปัจจุบันเป็นผู้ปฏิบัติงานการสอนคิดเป็นร้อยละ 39.51 และเป็นผู้บริหาร ระดับกลางคิดเป็นร้อยละ 34.57 ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน

2. ผลการสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ในในการบริหารงานวิชาการด้านการวิจัยพัฒนา คุณภาพการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 มี 7 ขั้นตอนได้แก่ 1. การค้นหา/บ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) 2. การสร้างและการแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) 3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) 4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) 5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) 6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) 7. การเรียนรู้ (Learning)

References

ก ร ะ ท ร ว ง ศึก ษ า ธิก า ร . ( 2 5 4 8 ) . ก า ร จัด ก า ร ค ว า ม รู้ . ( Online) . AvailableURL:http://www.moe.go.th.
กองพัฒนาคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล.(2552).การศึกษาวิจัยเรื่อง “การจัดการความรูในหน่วยงาน ของมหาวิทยาลัย.จังหวัดนครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์,(2548).องค์การแห่งความรู้:จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ,พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :รัตนไตร.
พระมหาณัชภพ มาตยาบูญและปรีชา วิหคโต. (2555) การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ใน โรงเรียนพระปริยธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 5. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริการการศึกษา. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
พระมหาสกุล มหาวีโร และปรีชา วิหคโต. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของ มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย.ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการ บริการการศึกษา. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
พานุวัฒน์ มณียารัตน์ และปรีชา วิหคโต. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริการการศึกษา. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

เผยแพร่แล้ว

2020-06-06