บทบาทวัดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
บทบาทวัด, การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ, วัดหลวงพ่อสดธรรมกายารามบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักวิชาการทั่วไปและตามแนวพระพุทธศาสนา (2) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม และ (3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาบทบาทวัดหลวงพ่อสดธรรมกายารามในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภคสนาม จากประชาชนในพื้นที่ตำบลแพงพวย อำเภอดาเนินสะดวกจังหวัดราชบุรี จานวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่าง จึงทาการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจานวน 15 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักวิชาการทั่วไปและตามแนวพระพุทธศาสนามีแนวคิดสอดคล้องกัน กล่าวคือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักวิชาการทั่วไป พบว่า (1) ด้านสุขภาพมีจุดเน้น คือ การรับผิดชอบต่อสุขภาพ โภชนาการ และการออกกาลังการ (2) ด้านเศรษฐกิจ มีจุดเน้นคือ การวางแผนทางการเงิน การจัดทาบัญชีงบประมาณ และการลดรายจ่าย (3) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม มีจุดเน้น คือ การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมในลักษณะต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น (4) ด้านสัมพันธภาพในครอบครัว มีจุดเน้น คือ การปรับตัวเข้าหากันของผู้สูงอายุและสมาชิก ในครอบครัว และการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในครอบครัว และ (5) ด้านทัศนคติในการดารงชีวิต มีจุดเน้น คือ คุณลักษณะของสุขภาพจิตที่ดี และการปรับตัวอย่างเหมาะสมในทุกสภาพแวดล้อม สาหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่า (1) ด้านสุขภาพ มีจุดเน้น คือ ความสมดุลระหว่างสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่เหมาะสม (2) ด้านเศรษฐกิจ มีจุดเน้น คือ การกระทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานหลักคิหิสุขหรือสุขของคฤหัสถ์ (3) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม มีจุดเน้น คือ การปฏิบัติต่อผู้อื่นตามหลักสังคหวัตถุธรรม (4) ด้านสัมพันธภาพในครอบครัว มีจุดเน้น คือการปฏิบัติต่อผู้คนในครอบครัวตามหลักพรหมวิหารธรรม และ (5) ด้านทัศนคติในการดารงชีวิต มีจุดเน้น คือ การปฏิบัติสมถวิปัสสนากรรมฐานให้รู้ทันความเป็นจริงของสังขารด้วยปัญญา2. ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (xˉ = 3.73) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านสัมพันธภาพในครอบครัว อยู่ในระดับปานกลาง (xˉ = 3.38) ส่วนด้านอื่น ๆ ที่เหลือ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนผลการวิเคราะห์ความต้องการของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (xˉ = 4.10) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านทัศนคติในการดารงชีวิต อยู่ในระดับมากที่สุด (xˉ = 4.90) ส่วนด้านอื่น ๆ ที่เหลือ อยู่ในระดับมากทุกด้าน และผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า รายได้ของประชาชนมีผลให้ความต้องการการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. แนวทางการพัฒนาบทบาทวัดหลวงพ่อสดธรรมกายารามในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุประกอบด้วย (1) ด้านสุขภาพ คือ พัฒนากระบวนการเผยแพร่ความรู้เพื่อการดูแลสุขภาพตามหลักพุทธธรรมแก่ผู้สูงอายุและบุคคลทั่วไปทางสถานี โทรทัศน์ วิทยุ หรือหอกระจายข่าว (2) ด้านเศรษฐกิจ คือการจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับการสร้างอาชีพเสริมรายได้แก่ผู้สูงอายุที่เข้าปฏิบัติธรรม โดยให้อยู่นอกเหนือจากช่วงเวลาภาคปฏิบัติสัทธรรม (3) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม คือ การจัดกิจกรรมพุทธศิลป์บาบัดที่ช่วยให้มีความรู้สึกผ่อนคลาย รื่นรมย์ เกิดความสุขทางใจ สาหรับผู้สูงอายุที่เข้าปฏิบัติธรรมร่วมกับบุคคลผู้สนใจทั่วไป (4) ด้านสัมพันธภาพในครอบครัว คือ การเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการจัดงานวันสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยสถาบันครอบครัว ได้แก่ วันผู้สูงอายุ วันครอบครัว วันแม่ วันพ่อ เป็นต้น และ(5) ด้านทัศนคติในการดำรงชีวิต คือ การจัดตั้งศูนย์อบรมวิปัสสนากรรมฐานผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการอบรมสมถวิปัสสนากรรมฐานแก่ผู้สูงอายุในสังคมไทย โดยมีพันธกิจหลักเพื่อให้ผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมสามารถเห็นตามความเป็นจริงของสังขารด้วยปัญญาตามหลักไตรลักษณ์ได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ การวิจัยครั้งนี้ยังพบข้อเสนอแนะสำคัญ คือ การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยความร่วมมือของ 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ราชบุรี 2) วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม และ 3) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
References
นายแพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ. พุทธธรรมบำบัด. กรุงเทพมหานคร : กองแพทย์ทางเลือก กรมการพัฒนาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2550.
พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). การบริหารวัด. พิมพ์ครั้งที่ 8. นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์, 2549.
ภัทรพงษ์ เกตุคล้าย และคณะ. “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร”. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6ขอนแก่น. ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 (เมษายน-กันยายน 2555) : 55.
วิทยา ประทุมธารารัตน์ และคณะ. ชีวิต การงาน หลักธรรม ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ พระภาวนาวิสุทธิคุณ (เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.6). นนทบุรี : สำนักพิมพ์ธารบัวแก้ว, 2542.
สุรกุล เจนอบรม. วิทยาการผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534.
สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี : ฝ่ายเอกสารการพิมพ์สถาบันราชภัฏเทพสตรี,2546.
พรพรรณ์ สมบูรณ์, สันทัด จันทร์ทาทอง และนมาศโมฬี จิตวิริยธรรม. “พระอัจฉริยภาพของพระพุทธเจ้าด้านการแพทย์: ศึกษาจากเภสัชชขันธกะ”. ใน วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2559) : 221.
พระครูโกศลวชิรกิจ, บุญทัน ดอกไทสง และอภินันท์ จันตะนี. “กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาแพงเพชร”. ใน วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2559) : 61.
ภาส ภาสสัทธา, สุรพล สุยะพรหม และธัชชนันท์ อิศรเดช. “การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการบริหารจัดการด้านความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”. ใน วารสาร มจรสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2558) : 59.
คานธีชา บุญยาว. “การออกแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัย”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.
ฐิติวรรณ แสงสิงห์. “การศึกษาวิถีชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม : กรณีศึกษาชุมชนบ้านลือคาหาญ อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
นราธิป กมลลิ้มสกุล. “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาบ้านปางลาน ตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนสระแก้ว”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา, 2554.
พระครูใบฎีกาโสภา กิจฺจสาโร. “การประยุกต์หลักพุทธธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจาวันของกลุ่มผู้สูงวัยในเขตตาบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.
พระครูสิงห์แก้ว วชิรธมฺโม. “บทบาทของผู้สูงอายุในการส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา :ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2554.
ภิรมย์ เจริญผล. “ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการดาเนินชีวิตของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ จังหวัดนครปฐม”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.
วรนารถ ดวงอุดม พงทิพย์ หนูเจริญ และนภสร เจริญโพธิ์. “การพัฒนาสื่อที่เหมาะสมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและจังหวัดแพร่”. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 2554.
อมรรัตน์ ทิพย์เลิศ. “การเสริมพลังความสามารถทางการสื่อสารของผู้สูงอายุเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน : กรณีชมรมหนูรักจักรยาน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน”. รายงานการวิจัย.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2554.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น