การพัฒนาการบริหารตามหลักอิทธิบาทธรรมของวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
การพัฒนาการบริหาร, หลักอิทธิบาทธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาการบริหารตามหลักอธิบาทธรรมของวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการพัฒนาการบริหารตามหลักอธิบาทธรรมของวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการพัฒนาการบริหารตามหลักอธิบาทธรรมของวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดาเนินการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิจัยเชิงปริมาณ ดาเนินการโดยสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาของวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร จานวน 236 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.937 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบสมมติฐาน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล สถิติที่ใช้คือ การทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทาการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จานวน 9 ท่าน เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาการบริหารตามหลักอิทธิบาทธรรมของวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน คือ ด้านฉันทะ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ
ด้านวิมังสา พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาบุคลากรต่อการพัฒนาการบริหารตามหลักอิทธิบาทธรรมของวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ ระดับชั้นปี และสาขาวิชา พบว่า นักศึกษาที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน นักศึกษาที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน นักศึกษาที่มีชั้นปีการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน นักศึกษาที่มีสาขาวิชาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน ในด้านวิมังสา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาการบริหารตามหลักอิทธิบาทธรรมของวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร พบว่า 1) นักศึกษาขาดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องนโยบายของวิทยาลัยชุมชน 2) ขาดการปฏิบัติงานที่เข้าถึงชุมชนอย่างแท้จริง 3) การใช้หลักธรรมาภิบาลยังไม่ทั่วถึงและต่อเนื่อง 4) การตรวจสอบและติดตามผลการปฏิบัติงานการจัดการศึกษายังขาดความต่อเนื่อง 5) การอบรมเพิ่มประสิทธิภาพสาหรับบุคลากรยังไม่ครอบคลุมทุกด้าน 6) กระบวนการของการนาข้อเสนอแนะไปสู่แผนพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาเกิดความล่าช้า เนื่องจากบุคลากรมีภาระงานมาก ข้อเสนอแนะได้แก่ ควรมีการบริหารจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยชุมชน ควรจัดอบรมเพิ่มประสิทธิภาพสาหรับบุคลากรให้ครอบคลุมทุกด้าน และพัฒนาแผนบริหารจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา ลงวันที่12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551. สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2551.
วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร. รายงานผลการดาเนินงานประจำปี 2559. วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาครสถาบันวิทยาลัยชุมชน : กระทรวงศึกษาธิการ. 2559.
ณฐยา ราชสมบัติ. “ศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ของวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
ธนกฤต ปั้นวิชัย. “การบริหารจัดการที่พึงประสงค์ของวิทยาลัยสงฆ์ตามหลักอิทธิบาท 4”.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
นิพนธ์ โอภาษี. “การบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตาบลห้วยถั่วเหนืออำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทย าลั ย ,
2557.
พูนสุข ภูสุข. “ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของข้าราชการฝ่ายอัยการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดในภาคะวันออกเฉียงเหนือ”.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : www.nesdb.go.th [24 กุมภาพันธ์ 2559].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น