ประสิทธิผลการบริหารงานของเจ้าอาวาสในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, การบริหาร, เจ้าอาวาสบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานของเจ้าอาวาสในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามทัศนะของพระภิกษุ สามเณรและประชาชน (2) เปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานของเจาอาวาสในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามทัศนะของพระภิกษุ สามเณรและประชาชน โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล (3)ศึกษาปัญหาและแนวทางในการบริหารงานที่มีประสิทธิผลการบริหารงานของเจาอาวาสในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ พระภิกษุ สามเณร และประชาชนในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรีจานวน 188 รูป/คน ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยใช้ค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไปและเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) โดยกาหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลการบริหารงานของเจาอาวาสในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า พระภิกษุ สามเณรและประชาชน มีทัศนะต่อประสิทธิผลการบริหารงานของเจาอาวาสในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พระภิกษุ สามเณร และประชาชน มีทัศนะต่อประสิทธิผลการบริหารงานของเจาอาวาสในอำเภอ ศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลาดับจากมากไปหาน้อย คือ
ด้านการบำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติ และด้านการบริหารและการปกครอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 ด้านการศึกษา อบรมและสั่งสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 และด้านการให้ความสะดวกในการบาเพ็ญกุศล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 และตามลาดับการเปรียบเทียบทัศนะของพระภิกษุ สามเณร และประชาชนต่อประสิทธิผลการบริหารงานของเจาอาวาสในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พระภิกษุ สามเณร และประชาชน มีทัศนะต่อประสิทธิผลการบริหารงานของ เจาอาวาสในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่แตกต่างกันตาม สถานภาพ อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ และวุฒิการศึกษาเปรียญธรรม จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ผลการศึกษาปัญหาและแนวทางในการบริหารงานของเจ้าอาวาส พบว่า ปัญหาและแนวทางในการบริหารงานของ เจ้าอาวาส ได้แก่ 1) ด้านการบำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติ วัดในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนใหญ่ไม่มีการจัดทาทะเบียนครุภัณฑ์ ปัญหาเรื่องความสะอาดภายในวัด หรือบริเวณรอบนอกของวัด และ บางวัดมีโบราณสถานโบราณวัตถุที่มีสภาพทรุดโทรม 2) ด้านการบริหารและการปกครอง ระยะเวลาในการประชุมแต่ละครั้งห่างกันนานเกินไป และบางวัดมีการรวมศูนย์กลางการปกครองไปที่เจ้าอาวาสเพียงผู้เดียว ทาให้ในบางครั้งการดูแลอาจไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร 3) ด้านการศึกษา อบรมและสั่งสอน ผู้ที่จะทาหน้าที่ในการอบรมพระภิกษุ และสามเณร มีไม่เพียงพอ และไม่มีการอบรมครูพระ ทาให้เกิดการขาดแคลนครูพระที่จะทาหน้าที่ในการสอนหนังสือทั้งในแผนกบาลีและแผนกธรรม 4) ด้านการให้ความสะดวกในการบาเพ็ญกุศลการติดต่อบางครั้งไม่สะดวก การจัดกิจนิมนต์ไม่ทั่วถึง พิธีกรหรือมัคคทายก บางวัดยังทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์และไม่ถูกต้องตามรูปแบบประเพณี และสถานที่จอดรถภายในวัดคับแคบจนเกินไปทาให้ญาติโยมที่มาติดต่อหรือมาทาบุญที่วัดเกิดความไม่สะดวก
References
พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน). (2539). การปกครองวัด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.
พระพิพัฒน์ภาสน์ บุญเทียน. (2547). “การศึกษาพฤติกรรมการบริหารวัดตามหลักปฏิรูปเทศของเจ้าอาวาส ในจังหวัดนครราชสีมา”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
พระมหาชวลิต ชาตเมธี (คงแก้ว). (2552). “บทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ : ศึกษาเฉพาะกรณี พระสังฆาธิการในจังหวัดภูเก็ต”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาทองดี อกิญฺจโน (ศรีตระการ). (2552). “ความคิดเห็นของพระภิกษุต่อภาวะผู้นาในการบริหารกิจการคณะสงฆ์เขตภาษีเจริญและเขตบางแค กรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระวิสุทธิภัทรธาดา (ประสิทธิ์ พฺรหฺมรํสี). (2547). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิทูร มลิวัลย์ และ ไสว มาลาทอง. (2553).ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.
วรวิท บุญยะดาษ. (2550). “ภาวะผู้นาในการพัฒนาชุมชนของเจ้าอาวาส : กรณีศึกษาจังหวัดเลย”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สุรพล สุยะพรหม และสิทธิรัก ศรีจันทร์เพ็ญ. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Best, John W. Research in Education. New Jersey: Pretice-Hall, Inc., 1981.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น