แนวทางการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการประชุม และวิธีเรียกประชุมมาตรา 1175
คำสำคัญ:
การประชุมใหญ่ ,วาระอื่นๆ ,การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์บทคัดย่อ
บริษัทจำกัดเป็นรูปแบบการจัดการองค์กรทางธุรกิจที่มีผู้นิยมจัดตั้งมากที่สุด อาจเนื่องมาจากผู้ถือหุ้นในบริษัทต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนส่งใช้ไม่ครบมูลค่ำของหุ้นที่ตนถือ เป็นการจำกัดความรับผิดชอบหรือความเสี่ยงในการทำธุรกิจ อีกทั้งกฎหมายยังกำหนดให้กรรมการของบริษัทมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการต่างๆ แทนบริษัท ดำเนินงานตามข้อบังคับ ตามขอบวัตถุประสงค์ของบริษัท และที่สำคัญการดำเนินงำนของกรรมการต้องอยู่ในความดูแลของที่ประชุมใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามอำนาจทุกอย่างมิได้ตกอยู่แก่กรรมการแต่เพียงผู้เดียวโดยไร้การควบคุม ผู้ถือหุ้นทุกคนมีอำนาจในการควบคุมจัดการงานของกรรมการโดยผ่านที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ดังนั้นการประชุมผู้ถือหุ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ แม้กฎหมายจะได้กำหนดรูปแบบและวิธีการประชุมไว้อย่างครบถ้วน ประกอบกับได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชำติ ฉบับที่ 74/2557 แก้ไขในเรื่องการประชุมโดยวิธีผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ในกรณีไม่อยู่ในสถานที่เดียวกัน เป็นการประหยัดทุนและเวลาในการจัดการประชุม แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่ามีปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการประชุมในบริษัทอีกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาในการรับรองสถานะของประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชำติในการเป็นกฎหมายและการใช้บังคับ วิเคราะห์เรื่องการนำวีธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ หรือปัญหาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยเฉพาะในมาตรา 1175 เรื่องการพิมพ์โฆษณาและในเรื่องระยะเวลาในการโฆษณาซึ่งมีผลสอดคล้องกับความเป็นจริงเช่นใด ปัญหาในเรื่องการตีความในความหมายของคำว่า “วาระอื่นๆ หรือเรื่องอื่น ๆ” รวมทั้งปัญหาในเรื่องสถานที่การจัดประชุม โดยวิเคราะห์ว่ามีความเหมาะสมตามกฎหมายหรือไม่ ผลจากการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เข้าใจว่าประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ มีสถานะเป็นกฎหมายแต่จากที่มีกฎหมายออกมาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะประกาศฉบับที่ 74/2557 ในเรื่องการประชุมแม้เป็นสิ่งที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นด้วยและให้การยอมรับแต่จากการที่มีกฎหมายออกมาเป็นจำนวนมากทำให้กรรมการหรือผู้ใช้กฎหมายไม่ทราบ ฝ่ายนิติบัญญัติควรจัดพิมพ์แก้ไขเพิ่มเติมในกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกและให้ความรู้แก่ประชาชนผู้เกี่ยวข้อง ควรยกเลิกการพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ โดยเพิ่มช่องทางการโฆษณาผ่าน Website หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ควรขยายระยะเวลานัดประชุมซึ่งจากเดิมไม่น้อยกว่า 7 วัน ควรกำหนดคาจากัดความคาว่า วาระอื่นๆ หรือเรื่องอื่นๆ ให้ชัดเจนว่าเรื่องใดไม่ควรกำหนดอยู่ในวาระดังกล่าว และควรจากัดสถานที่ในการประชุมดังเช่นในกฎหมายมหาชนจากัด เพื่อให้กฎหมายที่เกี่ยวกับการประชุมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นการรักษาสิทธิที่มีอยู่น้อยของผู้ถือหุ้นเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
References
ทิพย์ชนก รัตโนสถ. (2556). คำอธิบายเรียงมาตรา กฎหมายลักษณะห้างหุ้นส่วนและบริษัท. กรุงเทพฯ :โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2548). แง่ในการตีความกฎหมายไทย. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจากัด: ชวนพิมพ์.
ธารทิพย์ ปิยเธียรสวัสดิ์. (2552). ความรับผิดในทางกฎหมายของกรรมการเงาต่อบริษัทจำกัด:ศึกษากรณีการชัดกันระหว่างผลประโยชน์. วิทยานิพนธิ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปณิตา จิงหะรานนท์. (2556). ปัญหาเกี่ยวกับการประชุมของบริษัทจากัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ประเสริฐ ประภาสะโนบล. (2519). คาบรรยายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะหุ้นส่วนและบริษัท กรุงเทพฯ : วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ . (2559). ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โพยม จันทรัคคะ. (2527). คำบรรยายความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมิต สัชฌุกร. (2547). เทคนิคการจัดประชุม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สายธาร.
สมชาย ปรีชาศิลปกุล. (2539). ปัญหาทางกฎหมายบางประการเกี่ยวกับการปฏิวัติ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สหธร รัตนไพจิตร . (2558). กฎหมายลักษณะหุ้นส่วนบริษัท กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์วิญญชน จำกัด.
หยุด แสงอุทัย. (2537). การศึกษาวิชากฎหมาย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประกายพรึก.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น