การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ป่าชายเลน ในจังหวัด สมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • พระเอกลักษณ์ อชิโต (นกทอง)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ป่าชายเลน ในจังหวัดสมุทรสงคราม (2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ป่าชายเลน ในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed-Method Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) เก็บข้อมูลภาคสนาม จากพระสงฆ์ ในจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน122 รูป โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ลักษณะของแบบสอบถามมีทั้งคาถามปลายเปิดและปลายปิด และแบบสัมภาษณ์ (Interview) จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจานวน 7 รูป/คนโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ป่าชายเลน ในจังหวัดสมุทรสงคราม ผู้วิจัยได้
วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยหาค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) และวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ (Interview) โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า :
1. สภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามในการอนุรักษ์ป่าชายเลน ในจังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า พระสงฆ์ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20 ปี จานวน 33 รูป คิดเป็นร้อยละ 27 มีพรรษาน้อยกว่า 5 พรรษา พบมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 56.6 มีวุฒิการศึกษาสามัญระดับประถมศึกษามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43.4 มีวุฒิทางธรรมเป็นไม่มีนักธรรม คิดเป็นร้อยละ59.8 และมีวุฒิการศึกษาเปรียญธรรมไม่มีเปรียญธรรมมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 92.6 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.15 ปัญหาอุปสรรคและแนวทางพัฒนาของพระสงฆ์ ต่อการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ป่าชายเลน ในจังหวัดสมุทรสงคราม (1) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ พบว่าพระสงฆ์ได้รับข้อมูลข่าวสารในการประชุมต่างๆ ในการอนุรักษ์น้อยเกินไป ทาให้ขาดการปรึกษาแนวทางการแก้ไข และมีความรู้ด้านกฎหมายน้อยในเรื่องการกระทาความผิดของกลุ่มผลประโยชน์ที่เข้ามาบุกรุกทาลายระบบนิเวศป่าชายเลน และประชาชนกับพระสงฆ์มีความห่างเหินกันมากขึ้นในการทำกิจกรรมอนุรักษ์ป่าชายเลนและพระสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถได้รับโอกาสที่จะแสดงความคิดเห็นให้ความรู้และตระหนักในการอนุรักษ์ป่าชายเลนน้อย (2) ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ พบว่า พระสงฆ์มีส่วนร่วมในอนุรักษ์ปลูกป่าชายเลนได้น้อยเพราะคิดว่าเป็นเรื่องของหน่วยงานราชการและการอนุรักษ์ปลูกป่าชายเลนของประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ส่วนมากจัดกิจกรรมปลูกป่ากันแบบเป็นกลุ่มและคณะ และวัดเล็กๆ ขาดปัจจัยสนับสนุนในการอนุรักษ์ป่าชายเลน (3) ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ พบว่า พระสงฆ์ขาดต้นแบบในการอนุรักษ์ ให้ความสนใจน้อยในการสำรวจพื้นที่อนุรักษ์ (4) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล พบว่า ประชาชนใน
พื้นที่จัดเวลาในการทำกิจกรรมปลูกป่าไม่ตรงกันซึ่งจะตรงกับกิจของพระสงฆ์และมีการเชิญพระสงฆ์เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพพื้นที่ในการอนุรักษ์ป่าชายเลนน้อยทำให้ขาดความร่วมมือในการดูแลสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบๆ พื้นที่วัด ส่วนข้อเสนอแนะ (1) ควรจัดกิจกรรมให้พระสงฆ์และประชาชนได้ทากิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างความสามัคคี ควรมีการส่งเสริมสนับสนุนให้โอกาสพระสงฆ์ผู้มีความรู้ ความสามารถได้ทำหน้าที่เป็นผู้นาเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมในการอนุรักษ์ (2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาช่วยเหลือเรื่องงบประมาณ (3) จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องกฎหมายให้กับพระสงฆ์และประชาชนในพื้นที่อนุรักษ์ (4) ควรสร้างแบบอย่างที่ดีในคณะสงฆ์และพัฒนาให้เป็นแบบอย่างที่ดี

References

พระมหาสังเวียร ปญฺญาธโร. (2550). “บทบาทของพระสงฆ์ในการนาหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษา พระครูสุภาจารวัฒน์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. การบริหารจัดการคณะสงฆ์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอวยชัย อินศรีเมือง. (2542). “ศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสาเร็จในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลาง ชุมชน : ศึกษาเฉพาะกรณีวัดในเขตอาเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม”.วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ไทยคดีศึกษา กลุ่ม
สังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ และคณะ. (2541). “บทบาทของพระสงฆ์ในยุคโลกาภิวัตน์ : กรณีศึกษาภาคกลางและภาคตะวันออก”. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. จังหวัดนครปฐม : คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วีระ เทพกรณ์. (2553). ป่าชายคลองป่าพี่น้องของป่าชายเลน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร :บริษัทไทยร่มเกล้า.
สำนักงานเจ้าคณะอำเภอเมือง. (2559). สถิติพระภิกษุ-สามเณรและศิษย์วัด ต้นปี พุทธศักราช 2559. สมุทรสงคราม : สำนักงานเจ้าคณะอาเภอเมือง.
สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนกรมทรัพยากรทางทะเลและธรรมชาติ. (2553). แนวทางการตรวจสอบเอกสารสิทธิในที่ดินป่าชายเลน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุขขี คานวณศิลป์. (2550). “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น อาเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

เผยแพร่แล้ว

2020-04-24